หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระไพฑูรย์ เมธิโก (มหาบุญ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๕ ครั้ง
การประยุกต์พรหมวิหาร ๔ เพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ชื่อผู้วิจัย : พระไพฑูรย์ เมธิโก (มหาบุญ) ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูปลัดสุรัฐ สิริปุญฺโญ, น.ธ.เอก, พธ.บ., M.A., Ph.D.
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ประโยค ๑ – ๒, น.ธ.เอก, พธ.บ.(เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง), ศศ.ม.(พัฒนาสังคม)
  ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง, ป.ธ.๗, พธ.บ., M.A.(Soc.),Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง การประยุกต์พรหมวิหาร เพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาการประยุกต์พรหมวิหาร เพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (๒) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์พรหมวิหาร เพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล               (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการประยุกต์พรหมวิหาร เพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน ๒๔๒ คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายเปิด และปลายปิด วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดย การทดสอบค่าที  (t-test) และค่าเอฟ (F-test) หรือวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) สำหรับตัวแปรที่มี ๓ ค่าขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างหลายคู่ โดยวิธีหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด(Least Significant Difference : LSD)

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ความคิดเห็นของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ที่มีต่อการประยุกต์พรหมวิหาร ๔ เพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า การประยุกต์พรหมวิหาร ๔ เพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่อำเภอ               สามพราน จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๒๘)    

๒. ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์พรหมวิหาร ๔ เพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตัวแปร พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งและรายได้ต่อเดือน มีผลให้ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการประยุกต์พรหมวิหาร ๔ เพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ไม่แตกต่างกัน จึงเป็นการปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ แต่ตัวแปรทางด้านอายุงานนั้น แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

๓. ข้อเสนอแนะแนวทางในการประยุกต์พรหมวิหาร ๔ เพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ด้านเมตตา พบว่า ควรจัดลำดับความสำคัญของงานและควรทำงานที่เร่งด่วนก่อน, ควรใช้หลักเหตุผลและใช้หลักฐานทางข้อมูลเป็นสำคัญ, จัดให้มีการช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความสมัครใจ, ต้องจัดให้มีการอบรมธรรมะให้บุคลากร, ผู้บังคับบัญชาต้องสอนบุคลากรให้ปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ, ด้านกรุณา พบว่า ควรช่วยเหลือกันในการทำงาน, ปรึกษาหารือเมื่อพบปัญหา, ควรมีการส่งเสริมความสามัคคีด้วยการแข่งกีฬา, ควรช่วยเหลือผู้อื่นแม้ว่าจะไม่ใช่งานของเราก็ตามถ้าเราทำได้, ควรจัดให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามัคคีกับองค์กร, ด้านมุทิตา พบว่า แสดงความยินดีชมเชยให้กำลังใจเมื่อปฏิบัติงานดีขึ้นหรือประสบความสำเร็จ, องค์กรต้องมีความเด็ดขาดไม่กลัวกับปัญหาจากบุคคลที่ไม่ทำงาน, จัดให้มีการอบรมธรรมะ, จัดให้มีการแข่งขันกีฬาแบบทีมโดยจัดบุคลากรที่มีปัญหากันให้อยู่ทีมเดียวกัน, องค์กรต้องมีกฎเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่งให้แน่นอนไม่เลื่อนโดยตามอำเภอใจ, ด้านอุเบกขา พบว่า ควรให้ความยุติธรรมกับผู้ปฏิบัติงานทุกคนเท่าเทียมกัน, ต้องทำตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างคนของตนเอง, ไม่เข้าข้างคนผิด ผิดว่าไปตามกฎ, จัดให้มีการแข่งขันกีฬาภายในองค์กร, ลงโทษผู้กระทำความผิดตามวินัย

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕