หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูโสภณปทุมากร (ชลอ ธมฺมปาโล)
 
เข้าชม : ๒๐๐๔๐ ครั้ง
ประสิทธิภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้วิจัย : พระครูโสภณปทุมากร (ชลอ ธมฺมปาโล) ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรพล สุยะพรหม, ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.ม., M.A., Ph. D. (Pol. Sc.)
  พระมหาอำนวย อํสุการี, ป.ธ.๔, พธ.บ., M.A., Ph. D.
  อาจารย์วันชัย สุขตาม นธ.เอก, ประโยค ๑-๒, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ ๑), ศศ.บ., รป.ม.(การจัดการทุนมนุษย์)
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการในอำเภอภาชี   จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล  และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ แนวทางเกี่ยวกับการบริหารงานของพระสังฆาธิการในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้มีประสิทธิภาพ ศึกษาวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พระสังฆาธิการ พระภิกษุและสามเณร ฆราวาส จำนวน ๒๒๖ รูป /คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติ คือ ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้บรรยายข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลหรือตัวแปรต้น โดยใช้ค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ในกรณีตัวแปรสามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Lest Significant Difference : LSD) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

ผลการวิจัย พบว่า

๑) ประสิทธิภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๙ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี มีประสิทธิภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๕  เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านการปกครองสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอยู่ในวัดนั้น ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๔ ด้านการเป็นธุระในการศึกษาอบรม และสั่งสอน พระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๔ และด้านให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๓

๒) ผลการเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการ ในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล คือ อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสายสามัญ วุฒิการศึกษาทางธรรม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ตำบลที่อยู่ของพระสังฆาธิการ และสถานภาพส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า พระสังฆาธิการที่มีอายุ และตำบลที่อยู่ของพระสังฆาธิการต่างกัน มีผลทำให้ประสิทธิภาพของการบริหารงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนพระสังฆาธิการที่มีพรรษา วุฒิการศึกษาสายสามัญ วุฒิการศึกษาทางธรรม ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง และสถานภาพส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามต่างกัน มีผลทำให้ประสิทธิภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ แนวทางเกี่ยวกับการบริหารงานของพระสังฆาธิการในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้มีประสิทธิภาพ พบว่า มีปัญหาอุปสรรค ดังนี้ คือ (๑) ด้านการบำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี เช่น ไม่ค่อยมีงบประมาณสนับสนุน (๒) ด้านการปกครองสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอยู่ในวัดนั้น ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม เช่น ขาดกฎระเบียบของวัดที่ชัดเจนในการอยู่ร่วมกัน (๓) ด้านการเป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ เช่น พระภิกษุสามเณร มีความรู้ในการช่วยเผยแผ่ศาสนามีน้อย และ (๔) ด้านการให้ความสะดวกตามสมควร ในการบำเพ็ญกุศล เช่น ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบำเพ็ญกุศล

สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา ดังนี้ คือ (๑) ด้านการบำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี เช่น ควรจัดระดมทุนและทรัพยากรในท้องถิ่นมาสนับสนุน (๒) ด้านการปกครองสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอยู่ในวัดนั้น ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม เช่น ควรมีกฎระเบียบและแผนภูมิการบริหารงานวัดอย่างชัดเจนร่วมกัน (๓) ด้านการเป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ เช่น มีโครงการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้แก่พระภิกษุสามเณร เพื่อช่วยกันเผยแผ่ศาสนาให้มากขึ้น และ (๔) ด้านการให้ความสะดวกตามสมควร ในการบำเพ็ญกุศล เช่น มีการประกาศใช้กฎระเบียบของศาสนสถานในการบำเพ็ญกุศลเพื่อให้ปฏิบัติในแนวทางที่ถูกต้องเหมือนกัน

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕