หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระทนง ชยาภรโณ (วงค์สายะ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
การเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑โรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : พระทนง ชยาภรโณ (วงค์สายะ) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระใบฎีกาเสน่ห์ ญาณเมธี, ดร.
  ผศ.ดร.เทพประวิณ จันทร์แรง
  อาจารย์ไฉไลฤดี ยุวนะศิริ
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้  มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาการเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม อำเภอป่าซาง  จังหวัดลำพูน

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ                ( Primary  Source ) ได้แก่ข้อมูลจากพระไตรปิฎกและมีการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธ ข้อมูลทุติยภูมิ       ( Seconday Source ) ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิจัยครั้งนี้พบว่า  จากการตอบแบบสอบถามของครูผู้สอนและนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธทั้ง ๔ ด้าน คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยี การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร และการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง มีความสอดคล้องกันคือเห็นว่าอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ๔.๐๐

ประเด็นที่ ๒ แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธ ตามความคิดเห็นของครู แบ่งเป็น ๔ ด้าน คือ ๑. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ต้องมีการปรับพื้นฐานในการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาเพื่อให้เห็นความสำคัญและความสนใจเรียนของวิชาพระพุทธศาสนา อีกทั้งนักเรียนยังขาดความรับผิดชอบ ทำให้การจัดการเรียนการสอนจะต้องกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา ๒.  ด้านการใช้สื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยี สื่อไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ต้องผลิตสื่อเพราะขาดงบประมาณในการจัดซื้อ ๓. ด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร พบว่า เนื่องจากกิจกรรมพิเศษมีเวลาไม่เพียงพอในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแนววิถีพุทธ ๔. ด้านการวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง ไม่สามารถบรรลุผลเพราะเนื้อหาและข้อจำกัดด้านเวลา

ประเด็นที่ ๓ ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบ่งเป็น ๔ ด้าน ๑. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจต่อการเรียน โดยการทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ๒. การใช้สื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยี ส่งเสริมพลวัตรเพื่อให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการใช้สื่อและแสวงหาความรู้ผ่านสื่อที่หลากหลายทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ๓. การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ควรส่งเสริมให้ผู้เรียน เรียนรู้ผ่านกิจกรรม เช่น การทัศนศึกษา การเข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรม ๔. การวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง ควรสอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนและสถานศึกษา โดยครูควรแสวงหาวิธีพัฒนาและประเมินตามสภาพจริงของนักเรียน ผ่านสื่อต่างๆ อาทิ หนังสือพิมพ์ ช่องโทรทัศน์ครู (Teacher channel) คู่มือการเรียนรู้ต่างๆ เป็นต้น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕