หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวัชรานนท์ อริญฺชโย (พรมสมบัติ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๖ ครั้ง
ศึกษาบทผญาเชิงจริยธรรมที่ปรากฏในบทเทศนาของพระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ ที่มีผลต่อชาวตำบลแพด อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : พระวัชรานนท์ อริญฺชโย (พรมสมบัติ) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโพธิคุณ, ดร.
  ผศ.ชอบ ดีสวนโคก
  ดร.วิทยา ทองดี
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เล่มนี้  มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓ ข้อ คือ (๑)เพื่อศึกษาความหมายของบทผญาเชิงจริยธรรม (๒)เพื่อศึกษาความหมายและความสำคัญของบทผญาเชิงจริยธรรม ที่ปรากฏในบทเทศนาของพระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ และ (๓)เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลการนำหลักจริยธรรมในบทผญา ใช้ในการดำเนินชีวิตของชาวตำบลแพด อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม  

ผลการศึกษาพบว่า การแสดงธรรมของพระสงฆ์ตั้งแต่สมัยพุทธกาล มาจนถึงปัจจุบัน ได้อาศัยเทคนิคและวิธีการต่างๆ เพื่อให้การแสดงธรรมนั้น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์แก่ผู้ฟังธรรมมากที่สุด แม้พระอาจารย์สมภพ  โชติปญฺโญ และพระสงฆ์ภาคอีสาน ก็ได้อาศัยการนำบทผญาเชิงจริยธรรม เพื่อนำไปปรับใช้สั่งสอนพุทธศาสนิกชนในท้องถิ่นของตนเอง และมีแนวคิดในเชิงจริยธรรมที่ปรากฏอยู่ในบทผญา คือ () สอนเรื่องของการรู้จักพอประมาณในการใช้สอยเครื่องอุปโภคบริโภคปัจจัย ๔ อย่างรู้จักพอประมาณและสันโดษ () สอนเรื่องการวางท่าทีต่อความทุกข์ และวิธีปฏิบัติตนให้มีความสุข () สอนเรื่องการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม () สอนเรื่องการปฏิบัติต่อบุคคลอื่น () สอนเรื่องศิลปะในการทำงาน () สอนเรื่องความไม่ประมาทและโทษความประมาท () สอนเรื่องบุญ-บาป () สอนเรื่องการคบหาเพื่อนที่ดี () สอนเรื่องปัญญา (๑๐) สอนเรื่องการศึกษาหรือการแสวงหาความรู้ (๑๑) สอนเรื่องทั่วๆ ไป โดยบทผญาที่พระสงฆ์นำไปใช้แสดงธรรม มี ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ บทผญาภาษิต และบทผญาปริศนา  บทผญาภาษิตมุ่งสอนจริยธรรมแก่ผู้ฟังทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ส่วนบทผญาปริศนา มุ่งสอนจริยธรรมที่แฝงด้วยหลักพุทธธรรมทางพุทธศาสนาและหลักปรัชญาระดับชาวบ้านก็มี

บทผญาเชิงจริยธรรมที่ท่านพระอาจารย์สมภพ  โชติปญฺโญ ได้นำมาสอดแทรกในบทเทศนานั้น เกี่ยวเนื่องด้วยหลักพุทธจริยธรรมตามหลักไตรสิกขา ได้แก่ (๑) ศีล หมายถึง การรักษากาย วาจา และใจ ให้มีความสงบและมีความสุขุมเยือกเย็นการประพฤติดี คือ ไม่ทำให้ตนและผู้อื่นเดือดร้อน (๒) สมาธิ หมายถึง การข่มจิตใจให้ดำเนินไปในทางที่ควร และเหมาะแก่การงานทุกอย่าง  และ (๓) ปัญญา หมายถึงการฝึกฝนอบรม ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจอันถูกต้องและสมบูรณ์ถึงที่สุด ในสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง อีกอย่างหนึ่ง หมายถึง ความเห็นแจ้ง ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นคติธรรมในการดำเนินชีวิตและประกอบสัมมาอาชีพ

นอกจากนั้น จากการวิจัยยังพบว่า บทผญาในเชิงจริยธรรมที่ท่านเทศน์สั่งสอนพุทธศาสนิกชนนั้น มีผลทางด้านจิตวิทยาอย่างยิ่ง เพราะพระสงฆ์และชาวตำบลแพดส่วนใหญ่ยังคงให้ความนิยมการฟังเทศน์แบบผสมบทผญา  เมื่อผู้ฟังๆแล้ว ส่วนใหญ่จะนำบทผญานั้นไปแสดงหรือเล่าให้คนอื่นฟังอีกที เป็นการเพิ่มพูนความรู้ ให้ข้อคิดคติธรรมต่างๆ ในการแก้ปัญหาด้านสังคมของตนเพื่อให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างปกติสุข ทั้งยังมั่นคงในการรักษาศีล รู้จักบุญ-บาป การทำสมาธิภาวนา การวางตน การทำงาน และรู้จักการสั่งสอนบุตรหลาน เกี่ยวกับพฤติกรรมและประเพณีที่ดีงามของชาวบ้าน เป็นต้น ส่วนครูอาจารย์นิยมนำบทผญาไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพิ่มเติมความรู้ให้กับผู้เรียนมากยิ่งขึ้น ในส่วนของเยาวชนนั้น เมื่อได้ฟังบทเทศนาแล้ว ส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี  มีความเพียรสนใจในการศึกษาเล่าเรียน เคารพและเชื่อฟังบิดามารดาครูอาจารย์มากขึ้น จึงถือได้ว่าบทเทศนาของพระอาจารย์สมภพ  โชติปญฺโญ ที่ได้บันทึกไว้แล้วนำมาเปิดในสถานที่การจัดอบรมต่างๆ ย่อมยังผลดีให้เกิดแก่สังคมโดยส่วนรวมเป็นอย่างดี

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕