หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางอ้อยทิพย์ จงจิระศิริ
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๐ ครั้ง
การศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : นางอ้อยทิพย์ จงจิระศิริ ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง) ผศ.ดร.
  ดร. อำนาจ บัวศิริ
  ดร.กันทิมา รัชฎาวรรณพงษ์
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง  การศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล      เจริญกรุงประชารักษ์” มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) ศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ๒) เปรียบเทียบพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

                  ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ  บุคลากรและผู้ใช้บริการในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์  จำนวน  ๓,๒๕๐  คน  กลุ่มตัวอย่างได้จากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยใช้สูตรยามาเน่ (Yamane)  ทำการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน ๖๒๔ คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง จำนวน ๖ ชุด มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ๕ ระดับ โดยสร้างเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นและแบบประเมินตนเองของพยาบาลวิชาชีพต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมการให้บริการของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ตามกรอบจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการพยาบาล 

                  ผลการวิจัยพบว่า

                  พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ในการประเมินตนเองตามพฤติกรรม ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านประชาชนหรือผู้ใช้บริการ  ด้านสังคมและองค์กร  ด้านวิชาชีพ และด้านผู้ร่วมวิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ระดับดี ยกเว้นพฤติกรรมด้านตนเอง ระดับดีมาก   และผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ของกลุ่มตัวอย่าง    กลุ่ม  ได้แก่  สหวิชาชีพที่อยู่ในสายวิชาชีพทางการแพทย์  สหวิชาชีพที่ไม่อยู่ในสายวิชาชีพทางการแพทย์  ผู้บริหาร และผู้ใช้บริการ มีความคิดเห็นระดับดี ยกเว้น หัวหน้าหอผู้ป่วย มีความคิดเห็นระดับดีมาก   

            ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ
ในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จำแนกตามตัวแปร  พบว่า ส่วนมากตัวแปรที่ส่งผลต่อ
ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพในทุกกลุ่มตัวอย่างได้แก่ สถานภาพสมรส  ศาสนา ระดับการศึกษา และรายได้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.๐๕

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕