หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูอุทัยปริยัติโกศล (เสถียร ยอดสังวาลย์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
ปริศนาธรรมเกี่ยวกับประเพณีการตายของภาคอีสาน (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูอุทัยปริยัติโกศล (เสถียร ยอดสังวาลย์) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี, ดร.
  ดร. กาญจนา เงารังสี
  ผศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาปริศนาธรรมเกี่ยวกับความตายของภาคอีสาน   จากวรรณกรรมอีสานที่เกี่ยวกับปริศนาธรรมในประเพณีความตายของภาคอีสาน การเก็บข้อมูลในส่วนข้อมูลปฐมภูมิที่ปรากฏในพระไตรปิฎก  ส่วนข้อมูลทุติยภูมิเป็นการศึกษาปริศนาธรรมที่เกี่ยวกับการปฏิบัติประเพณีการตายของภาคอีสาน  และการสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้านที่ได้กล่าวไว้ที่เป็นปริศนาธรรมคำสอนที่สืบทอดจากอดีตถึงปัจจุบันที่เกี่ยวกับประเพณีการตายของภาคอีสาน  เพื่อให้เป็นแบบอย่างแนวทางการปฏิบัติที่ดีและถูกต้องตามประเพณี

ผลการวิจัยพบว่า  ปริศนาธรรมที่เกี่ยวกับประเพณีการตายของภาคอีสาน มีลักษณะสำคัญคือ ๑) เป็นคำสอนตามหลักพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับแนวการปฏิบัติเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั่วไปของภาคอีสาน   ๒)เป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับประเพณีการตายให้ถูกต้องและดีงามที่คนอีสานที่ได้ศึกษาและเข้าใจปริศนาธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาจากการถ่ายทอดจากประเพณีและวิธีการปฏิบัติ  โดยการบอกเล่า จากปากต่อปาก  และผูกไว้เป็นปริศนาธรรม  ๓) เป็นวรรณกรรมถ่ายทอดแบบ  “มุขปาฐะ”

จากการวิเคราะห์ปริศนาธรรมเกี่ยวกับความตายของภาคอีสาน ได้พบว่า มีการอิงหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาประกอบเข้าไว้  ที่บ่งบอกถึงความเชื่อในเรื่องของบาปบุญ  ภพภูมิ  นรกสวรรค์  จึงมีประเพณีในการทำบุญอุทิศให้กับผู้ที่ตายไปแล้ว เนื่องจากได้รับอิทธิพลของหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ทำให้ประเพณี ตลอดจนปริศนาธรรมยังคงอยู่และมีการสืบทอดต่อๆ มา

ในด้านความนิยม ปริศนาธรรมถือว่าเป็นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่าอันประเสริฐ  ที่มีสาระสำคัญและประโยชน์ยิ่งแก่ชนชาวอีสาน  ที่ยึดถือสืบทอดปฏิบัติเกี่ยวกับประเพณีการตายมาจนปัจจุบันประชาชนยึดหลักธรรมเป็นเครื่องเหนี่ยวจิตใจ  เป็นคติธรรมคำสอนตามหลักพระพุทธศาสนา  ที่มุ่งสอนให้ผู้คนมุ่งละความชั่ว  ทำความดี  และทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใสเบิกบาน  ทำให้สังคมเกิดความสงบสุขและพัฒนาให้เจริญก้าวหน้า  จากการสืบทอดในรูปของมุขปาฐะที่จำกันมาสืบทอดกันมา เป็นความนิยมทั้งเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินในการทดสอบปัญญา  เนื่องจากได้แฝงหลักธรรมอันประเสริฐ  จึงทำให้ปริศนาธรรมเป็นมรดกตกทอดถึงคนรุ่นหลังของชาวอีสาน เพื่อที่จะได้ศึกษาถึงภูมิปัญญาอันเลิศของบรรพบุรุษและรักษาไว้อย่างยั่งยืนต่อไป

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕