หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาทองหล่อ ฐานิสฺสโร (สินกระสัง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๖ ครั้ง
การศึกษาวินัยชาวพุทธในการพัฒนาชีวิตให้เป็นสุข (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาทองหล่อ ฐานิสฺสโร (สินกระสัง) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังวราภิรักษ์ สํวโร, ดร.
  ผศ.ดร.สุรพงษ์ คงสัตย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้   เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาวินัยชาวพุทธในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติวินัยชาวพุทธในพระพุทธศาสนาและ (๓) เพื่อประยุกต์หลักวินัยชาวพุทธในการพัฒนาชีวิตให้เป็นสุข

    ผลการศึกษาพบว่า วินัยชาวพุทธในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น แรกเริ่มพระพุทธศาสนายังไม่มีการบัญญัติวินัย พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ล่วงหน้า  ต่อเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นจึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามในภายหลัง  วินัย  คือ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบัญญัติ เพื่อความเรียบร้อยดีงามของสังคม เพื่อควบคุมผู้อยู่ในสังกัดให้มีระเบียบให้เกิดความสงบสุขขึ้นในบุคคลและสังคม  อีกประการหนึ่งการบัญญัติพระวินัยนั้นก็เพื่อวางกรอบระเบียบให้พระสงฆ์สาวกทั้งหลายได้ปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน เพื่อป้องกันความยุ่งยากวุ่นวายอันอาจจะเกิดขึ้น ซึ่งการบัญญัติพระวินัยนี้มีด้วยกัน ๒ ประเภทคือ มูลบัญญัติ  ข้อที่ทรงบัญญัติไว้เดิม อนุบัญญัติ  ข้อที่ทรงบัญญัติซ้ำเพิ่มเติมในภายหลัง  จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ก็ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของวินัยทรงตักเตือนให้ชาวพุทธยึดเอาศีลเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิตแม้ปรินิพพานก็ทรงมอบศีลให้เป็นมรดกตกทอดแก่พุทธศาสนิกชน ซึ่งแบ่งออกเป็น ศีล ๕  ศีล ๘  ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ข้อ เป็นต้น

      ในจตุปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือ เครื่องมือให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ (๑) ปาติโมกฺขสํวร คือ สํารวมในพระปาติโมกข์ (๒) อินฺทฺริยสํวร คือ สํารวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ   (๓) อาชีวปาริสุทฺธิ คือเลี้ยงชีพโดยทางชอบ (๔) ปจฺจยสนฺนิสฺสิต คือ บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา ทั้ง ๔ ข้อนี้เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดประโยชน์สำหรับบรรพชิต และคฤหัสถ์ก็สมารถที่จะนำไปปฏิบัติได้เช่นเดียวกัน ซึ่งได้อธิบายไว้เป็น จตุปาริสุทธิศีล ๔ ประการคือปาติโมกข์สังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทฐิศีล ปัจจยสันนิสิตศีล(ศีลเพราะอาศัยการพิจารณา) ซึ่งเป็นศีลทีเป็นไปในการอบรมปัญญา อีกประการหนึ่ง ได้แก่ อินทรีย์สังวรศีล คือการอบรมปัญญาที่เป็นการสำรวมทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ นั่นก็คือการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ดังนั้นจึงอบรมปัญญาและศีลประการต่างๆก็ย่อมทำให้ถึงความสิ้นทุกข์ได้ สำหรับคฤหัสถ์ก็สามารถอบรมปัญญาที่เป็นอินทรีย์สังวรศีลได้ คือ การระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงที่เป็นสติปัฏฐานได้ แต่ต้องเริ่มจากการฟังพระธรรมให้เข้าใจก่อน เป็นต้น

                หลักคำสอนพื้นฐานในพระพุทธศาสนาเชื่อว่า มนุษย์เราเป็นผู้ที่สามารถพัฒนาตนได้ และครอบคลุมพฤติกรรม หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ  ภายในชีวิตของตนเองให้ดีกว่าเดิมได้ เช่นการนำหลักจตุปาริสุทธิศีล ๔ ที่เป็นข้อบัญญัติของพระสงฆ์มาปรับใช้ได้กับคนสามัญทั่วไปได้ คือ (๑) การประยุกต์หลักปาฏิโมกขสังวรศีล ประยุกต์ตามการสร้างวินัยในสังคม และการสร้างวินัยในตนเอง (๒) การประยุกต์หลักอินทรียสังวรศีล ประยุกต์ตามการใช้อินทรีย์ในสังคม การฝึกสติอบรมอินทรีย์ (๓) การประยุกต์หลักอาชีวิปริสุทธิศีล ประยุกต์มุ่งให้คนมีปัจจัย ๔, ความสมบูรณ์ด้วยทรัพย์,  สัมมาชีพ  ,สัมมาอาชีวะโดยทางธรรม ,สัมมาอาชีวะในแง่การพัฒนาจิตใจและปัญญา,  สัมมาอาชีวะที่มีคุณค่าทางจิตใจและปัญญา, สัมมาอาชีวะในความหมายฝ่ายคฤหัสถ์  และอาชีพที่ขัดต่อการพัฒนาด้านสัมมาอาชีวะสำหรับคฤหัสถ์ (๔) การประยุกต์หลักปัจจัยสันนิสสิตศีล ประยุกต์ตามการอาศัยปัจจัย ๔ และวิธีคิดแบบคุณค่าแท้คุณค่าเทียม เป็นต้น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕