หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายเจษฎากรณ์ รอดภัย
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๓ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์หลักโอวาทปาฏิโมกข์ในทัศนะของพระเถระในประเทศไทย (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : นายเจษฎากรณ์ รอดภัย ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี, ดร.
  ผศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง
  ดร.ประพัฒน์ ศรีกุลกิจ
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์    ประการ  คือ ๑.ศึกษาบริบทและความสำคัญของโอวาทปาฏิโมกข์ ๒. ศึกษาสาระสำคัญของโอวาทปาฏิโมกข์  ๓. ศึกษาวิเคราะห์โอวาทปาฏิโมกข์ในทัศนะของพระเถระในประเทศไทย  โดยวิธีการค้นคว้าสืบค้นจากคัมภีร์พระไตรปิฎก  หนังสือ และเอกสารสำคัญทางวิชาการในทางพระพุทธศาสนา 

ออกเป็น    บท  ซึ่งแต่ละบทได้อธิบายถึงจุดประสงค์ที่ต้องการศึกษา  ดังนี้ผลการศึกษาพบว่า

๑. โอวาทปาฏิโมกข์ คือ  ปาฏิโมกข์ที่เป็นโอวาท กล่าวคือ สิ่งที่เป็นหลักเป็นประธานในด้านคำกล่าวสอน  หรือ หลักการโดยสรุปของพุทธศาสนา มีทั้งหลักคำสอนและหลักการปกครองคณะสงฆ์  ได้ประกาศหลักอันเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา  วิธีการการประกาศ  พร้อมทั้งจรรยาบรรณของนักเผยแผ่ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพร่วมกันในการเผยแผ่พระศาสนา  และเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

๒. ใจความพระโอวาทปาฏิโมกข์นั้น มี ๑๓ ประการ คือ หลักการ ๓ หมายถึง  สาระสำคัญที่ควรยึดถือเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ได้แก่ การไม่ทำบาปทั้งปวง, การทำกุศลให้ถึงพร้อม,  และการทำจิตให้ผ่องใส  อุดมการณ์ ๔ หมายถึง  หลักการที่ทรงวางไว้  เป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  ได้แก่ ความอดทน, ความไม่เบียดเบียน, ความสงบ,  และนิพพาน  วิธีการ ๖  หมายถึง  แนวทางในการปฏิบัติสำหรับนักบวช  ได้แก่  การไม่ว่าร้าย,  การไม่ทำร้าย,  การสำรวมในปาฏิโมกข์,  การรู้จักประมาณ,  การอยู่ในสถานที่ที่สงัด,  และการฝึกหัดจิตใจให้สงบ  สรุปได้แก่ สอนให้ละความชั่ว  ทำความดี  ทำจิตใจให้บริสุทธิ์   พระนิพพาน คือ การดับกิเลสพ้นทุกข์  เป็นเป้าหมายสูงสุด เป็นการประกาศจุดยืนของพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก

 

 

๓. ในทัศนะของพระเถระทั้ง    รูป มีทัศนะสรุปได้ดังนี้ 

๑) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก  ทรงมุ่งให้พุทธบริษัทประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนโอวาทปาฏิโมกข์ โดยยึดหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ  ปัญญา

๒) พระธรรมโกศาจารย์  (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)  หรือ หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ ได้เน้นย้ำการปฏิบัติบูชาให้เข้าถึงความ ว่างที่เรียกว่า สูญญตา  มองประเด็นพระคาถาโอวาทปาฏิโมกข์ที่เป็นใจความสำคัญ คือ การไม่ทำชั่ว  การทำความดีให้ถึงพร้อม  และการทำจิตให้ขาวรอบ   ต้องการอะไร  ปรารถนาอะไร  ตามที่ใจปรารถนาต้องการที่สุดแล้ว  เมื่อได้มาแล้ว  อย่าไปหลง  อย่าไปยึดมั่นถือมั่น คือ หัวใจพระพุทธศาสนา  จิตจะขาวรอบเป็นปริโยทปนะ

๓) พระพรหมมังคลาจารย์ หรือ หลวงพ่อปัญญานันทะ ได้เน้นให้ชาวพุทธปฏิบัติต่อพระรัตนตรัยด้วยการแสดงความกตัญญูกตเวที ระลึกถึงวันสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์  เน้นการปฏิบัติบูชา

๔) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)  มองโอวาทปาฏิโมกข์อย่างเป็นองค์รวม  และแยกแยะให้เห็นอย่างสมเหตุผล มองการปฏิบัติในแต่ละยุคแต่ละกาลอย่างเข้าใจ สามารถประยุกต์ได้ทุกองค์กร สร้างความเข้าใจและความสามัคคีให้เกิดขึ้นในพุทธศาสนิกชน

๕) พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร  ธมฺมจิตฺโต)  ได้เน้นให้อยู่ร่วมกันด้วยขันติธรรม  เพื่อสันติภาพโลกจักเกิดมีขึ้น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕