หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูวีรญาณสุนทร (จรินทร์ อาบคำ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๙ ครั้ง
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา : กรณีศึกษาวัดตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูวีรญาณสุนทร (จรินทร์ อาบคำ) ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๑๑/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาวรัญฺญู วรญฺญู,ดร.
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
  ผศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา : กรณีศึกษาวัดตากฟ้า (๒) เปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา : กรณีศึกษาวัดตากฟ้า โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (๓) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา : กรณีศึกษาวัดตากฟ้า

ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างได้แก่พระภิกษุสามเณรวัดตากฟ้า จำนวน ๒๒๒ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๕ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test)  และ (F-test)  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัย (Least Significant Difference: LSD) แล้ววิเคราะห์ศึกษาข้อปัญหาและอุปสรรคจากข้อเสนอแนะโดยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา 

 

ผลการวิจัยพบว่า

              กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยส่วนใหญ่เป็นสามเณร คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๘  มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๙ มีการศึกษาทางโลก ต่ำกว่าปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ ๗๙.๓  ด้านการศึกษาทางธรรม นักธรรมเอก คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๔ ด้านการศึกษาเปรียญธรรมเปรียญธรรม ๑-๒ /๓ คิดเป็นร้อยละ ๕๙.๙ ผลการวิเคราะห์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา  พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๒๔ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีค่าเฉลี่ยมากทุกด้าน

              ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา ซึ่งแยกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีวุฒิการศึกษาทางเปรียญธรรมต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา กรณีศึกษาวัดตากฟ้า โดยภาพรวมแตกต่างกัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีวุฒิการศึกษาทางเปรียญธรรมต่างกัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ และนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้  ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันทุกด้าน

                  ข้อเสนอแนะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา : กรณีศึกษาวัดตากฟ้า  ควรจัดทำรูปแบบการฝึกอบรมให้ความรู้ที่เป็นมาตรฐานแก่พระภิกษุสามเณรผู้ศึกษาทุกระดับ ตระหนักถึงความมีระเบียบวินัย รับผิดชอบต่อหน้าที่

จัดอบรมเป็นประจำทุกภาคเรียนในการนำเอาหลักคำสอนทางพุทธศาสนาเข้ามีสวนร่วมพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่ พระภิกษุสามเณรผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรม สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติพัฒนาด้านกาย จิตใจ และสติปัญญาให้สูงขึ้น

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕