เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง |
การสำรวจทัศนคติของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช-วิทยาลัยที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาการชนบท (๒๕๔๓) |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
พระวันชัย ธนวํโส (กัณหะกาญจนะ) |
ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๘/๒๐๑๐ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระสุธีวรญาณ (ณรงค์ จิตฺตโสภโณ) |
|
พระมหาพล อาภากโร |
|
ผศ.อ้อมเดือน สดมณ๊ |
วันสำเร็จการศึกษา : |
31 มีนาคม พ.ศ. 2543 |
|
บทคัดย่อ |
การสำรวจทัศนคติของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชนบท มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก เพื่อศึกษาว่านิสิตที่มีปัจจัยทางชีวสังคม คือ อายุพรรษา ชั้นปีที่ศึกษา คณะที่ศึกษา และการได้รับการสนับสนุนแตกต่างกัน จะมีทัศนคติต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชนบทแตกต่างกันหรือไม่ ประการที่สอง เพื่อศึกษาว่านิสิตที่มีปัจจัยทางจิต คือ เหตุผลเชิงจริยธรรมและความเชื่ออำนาจในตนแตกต่างกัน จะมีทัศนคติต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชนบทแตกต่างกันหรือไม่ ประการที่สาม เพื่อศึกษาว่านิสิตที่มีความเชื่อทางพระพุทธศาสนา คือ ความเชื่อในกฎแห่งกรรมและอิทธิบาท 4 แตกต่างกัน จะมีทัศนคติต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชนบทแตกต่างกันหรือไม่
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในส่วนกลางเท่านั้น คือนิสิตชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 1 ของคณะต่าง ๆ ทั้ง 4 คณะ คือ คณะพุทธศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ จำนวน 205 รูป โดยมีนิสิตชั้นปีที่ 4 จำนวน 85 รูป และนิสิตชั้นปีที่ 1 จำนวน 120 รูป ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็นตัวแปรอิสระ 8 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยทางชีวสังคม 4 ตัวแปร คือ อายุพรรษา ชั้นปีที่ศึกษา คณะที่ศึกษา และการได้รับการสนับสนุน ปัจจัยทางจิต 2 ตัวแปร ได้แก่ เหตุผลเชิงจริยธรรมและความเชื่ออำนาจในตน ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา 2 ตัวแปร ได้แก่ ความเชื่อในกฎแห่งกรรมและอิทธิบาท 4 ส่วนตัวแปรตาม คือ ทัศนคติของนิสิตที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชนบท
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบหาค่าที (T-Test) โดยแยกย่อยพิจารณาความสัมพันธ์ของตัวแปรแต่ละตัว
ผลจากการวิจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ ประการที่แรก ได้พบผลว่า ปัจจัยทางชีวสังคมที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของนิสิตที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชนบท คือ การได้รับการสนับสนุน โดยที่นิสิตที่ได้รับสนับสนุนสูง จะมีทัศนคติต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชนบทสูงกว่านิสิตที่ได้รับการสนับสนุนต่ำ ส่วนนิสิตที่มีอายุพรรษาสูงหรืออายุพรรษาต่ำ นิสิตชั้นปี 4 หรือนิสิตปี 1 และนิสิตที่ศึกษาอยู่ในคณะต่าง ๆ ทั้ง 4 คณะ มีทัศนคติต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชนบทไม่แตกต่างกัน ประการที่สอง ได้พบผลว่า ปัจจัยทางจิต คือ ความเชื่ออำนาจในตน มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของนิสิตที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชนบท โดยที่นิสิตที่มีความเชื่ออำนาจในตนสูง จะมีทัศนคติต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชนบท สูงกว่านิสิตที่มีความเชื่ออำนาจในตนต่ำ ส่วนเหตุผลเชิงจริยธรรมไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ และประการที่สาม ได้พบผลว่า ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา คือ ความเชื่อในกฎแห่งกรรมและอิทธิบาท 4 ทั้งสองมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของนิสิตที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชนบท โดยที่นิสิตที่มีความเชื่อในกฎแห่งกรรมและอิทธิบาท 4 สูง จะมีทัศนคติต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชนบท สูงกว่านิสิตที่มี 2 ลักษณะดังกล่าวต่ำ
|
|
Download :
254310.pdf |
|