หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมปอง มนฺตชาโต (วงษ์สอาด)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๗ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบเกณฑ์ตัดสินความดีในปรัชญาของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระสมปอง มนฺตชาโต (วงษ์สอาด) ข้อมูลวันที่ : ๐๖/๑๐/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุริโย อุตฺตมเมธี (อุดมพร)
  ดร. วีรชาติ นิ่มอนงค์
  ผศ. ชำนะ พาซื่อ
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

ในการศึกษาวิจัยพบว่า  การศึกษาเปรียบเทียบเกณฑ์ตัดสินความดีในปรัชญาของ    เพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท  มีความเหมือนกันและความแตกต่างกันของปรัชญาทั้งสอง

เกณฑ์ตัดสินความดีในปรัชญาของเพลโต  พิจารณาโดยหลักสำคัญของจริยธรรมที่วางอยู่บนพื้นฐานของ  สัจภาพของมนุษย์  ทั้งใน  มิติปัจเจกภาพ  และ มิติความเป็นสมาชิกของมนุษยชาติ  ตามหลักสิทธิ  เสรีภาพ  ภราดรภาพ  ความเสมอภาค  ความยุติธรรม  อย่างเท่าเทียมกันในฐานะเป็นมนุษย์ด้วยเหตุผลและสติปัญญาที่สำคัญ  คือ  คุณธรรมของเพลโตที่มีความกลมกลืนกัน ๔ ประเภท  คือ  ) คุณธรรมทางปัญญา  ) คุณธรรมทางความกล้าหาญ                ) คุณธรรมทางความรู้จักประมาณ  ) คุณธรรมทางความยุติธรรม  คุณธรรมทั้ง ๔ ของเพลโต  ถือว่าเป็นคุณธรรมที่จะปกครองทางสังคมและปัจเจกชนที่แสวงหาความยุติธรรมทางคุณธรรม  ทางสังคมที่ทำให้จิตใจขัดเกลาด้วยความเมตตากรุณา  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  และอยู่ร่วมกันโดยสันติ    มีกฎเกณฑ์  และมีกติกา  ในสังคม

ส่วนเกณฑ์ตัดสินความดีของพุทธปรัชญาเถรวาท  มีหลักการดำเนินชีวิตในสังคม  ที่มีจุดมุ่งหมายสูงสุด  ที่เป็นอุดมคติของชีวิตในเกณฑ์ตัดสินว่า  “การกระทำใดดีหรือไม่ดี  ควรหรือไม่ควร”  เพื่อให้บุคคลมีชีวิตที่ดีช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคมได้เป็นอย่างดี  ในการดำเนินชีวิตที่ดี พุทธปรัชญาเถรวาทจึงจัดระบบของเกณฑ์ตัดสินความดีไว้ ๓ ระดับ  คือ  ๑)  ระดับศีล     ๒)  ระดับกุศลกรรมบถ  ๑๐  และ  ๓)  ระดับมรรค     

เกณฑ์ตัดสินความดีของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาทจึงเน้นในการพิจารณาความถูกต้องของการกระทำที่มีเหตุผลและปัญญา  นอกจากนี้อารมณ์หรือความรู้สึกทางกาย  ทางใจ  และทางอุดมคติ แบ่งได้  ๓ ระดับ  คือ  ๑) ระดับศีลธรรม  ๒) ระดับคุณธรรม  ๓.) ระดับจริยธรรม  ดังนั้นเกณฑ์ตัดสินความดีของปรัชญาทั้งสองมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน  พอจะสรุปได้    ประการ  คือ  ๑) เรื่องเจตนาและเหตุผลเป็นเป็นองค์ประกอบหลักเกณฑ์ตัดสินความดี              ๒) เรื่องกฎแห่งเสรีภาพของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท   ๓) เรื่องคุณธรรมของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท  ๔) เรื่องเกณฑ์ตัดสินความดีกับแรงจูงใจของเพลโตกับ                      พุทธปรัชญาเถรวาท  ๕) เรื่องความเป็นสากลและคุณค่าของมนุษย์ของเพลโตกับ               พุทธปรัชญาเถรวาท  อย่างไรก็ตาม  ยังมีความแตกต่างกันในเรื่องของเจตนาและเหตุผลหรือปัญญา ในการตัดสินการกระทำของมนุษย์ว่า อะไรดี ชั่ว ถูก ผิด  ตามทัศนะของปรัชญาทั้งสอง 

นอกจากนี้  เกณฑ์ตัดสินความดีในปรัชญาของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท   ต่างกันก็คือ  ความสุข  ในทางพุทธปรัชญาเถรวาทมีการละกิเลสตัณหาที่ทำให้จิตของมนุษย์เศร้าหมอง  แต่ในปรัชญาของเพลโตนั้น  ไม่ได้ละกิเลสตัณหาอย่างเด็ดขาด  หมายถึง  มีคุณธรรมฝ่ายสูง  คอยควบคุมความปรารถนาในคุณธรรมฝ่ายต่ำ  ให้เป็นไปในทางที่ถูกที่ควรเท่านั้น  ส่วนพุทธปรัชญาเถรวาท  เป็นการละกิเลสตัณหาอย่างสิ้นเชิง  ดังนั้น  เพลโตถือว่า  แบบหรือมโนคติที่เป็นความดีสูงสุดของเพลโตสามารถบรรลุได้ก็ต่อเมื่อต้องตายลงเท่านั้น  ส่วนผู้ที่มีชีวิตอยู่สามารถทำได้เพียงเป็นผู้รับความรู้เท่านั้น  ซึ่งต่างกับพุทธปรัชญาเถรวาทที่บุคคลสามารถบรรลุได้ทั้งในขณะที่มีชีวิตและหลังตายไปแล้วในภพหน้าส่วนเพลโตถือว่า  แบบหรือมโนคติของเขานั้นเป็นโลก ๆ หนึ่งที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสเป็นที่อยู่ของแบบหรือมโนคติ                          ส่วนพุทธปรัชญาเถรวาทถือว่า  อริยมรรค    ประการ  เป็นทางดำเนินไปสู่พระนิพพาน  ได้แก่  ความเห็นชอบ,  ความดำริชอบ,  การพูดชอบ,  การกระทำชอบ, การเลี้ยงชีพชอบ, ความเพียรชอบ,  ความระลึกชอบ,  ความตั้งใจมั่นชอบ  โดยองค์ประกอบทั้ง   ประการนี้  จะต้องดำเนินไปร่วมกัน และสอดคล้องกัน จึงจะสามารถเข้าถึงพระนิพพานหรือความดีสูงสุดได้  ส่วนเพลโตถือว่า  แบบหรือมโนคติ  จะต้องพัฒนาความดีของตนให้เกิดขึ้นตั้งแต่ความดีระดับต่ำจนไต่ขึ้นไปสู่ระดับของความดีสูงสุดได้  เป็นความดีที่มีอยู่ในร่างกายและความสวยงามของทุกสิ่งทุกอย่าง  จนเห็นความดีงามของจิตวิญญาณและสภาวะที่มีอยู่จริง  ที่เป็นศูนย์รวมของแบบทุกชนิดเป็นการชำระจิตของตนจนบริสุทธิ์  เมื่อตายไปวิญญาณส่วนนี้ก็จะได้เข้าเป็นหนึ่งเดียวกันแบบหรือมโนคติสูงสุดนั้นเอง

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕