หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายจักรเรศ ศิริรังษี
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๘ ครั้ง
ศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องลมในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : นายจักรเรศ ศิริรังษี ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๙/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร, ผศ.ดร.
  อาจารย์รังษี สุทนต์
  ว่าง
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องลมในพระพุทธศาสนาเถรวาท  มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ()เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องลมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ()ลมกับหมวดธรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาชีวิต() การประยุกต์หลักคำสอนเกี่ยวกับลมในพระพุทธศาสนาสำหรับพัฒนาชีวิต

ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดเรื่องลมในพระพุทธศาสนาเถรวาท แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ   ()ลมที่เป็นองค์ประกอบในสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะในมนุษย์ เรียกว่าลมภายในประกอบไปด้วยลมในลักษณะต่างๆ ๖ อย่าง คือ ลมหายใจเข้า-ออก   ลมที่พัดขึ้นสู่เบื้องบน   ลมที่พัดลงสู่เบื้องล่าง  ลมที่อยู่ในช่องท้อง  ลมที่อยู่ในลำไส้  ลมที่แล่นไปทั่วร่างกาย  ()ลมที่เป็นองค์ประกอบในสิ่งไม่มีชีวิต เป็นธรรมชาติที่มีลักษณะพัดไปมา มีภาวะที่เคลื่อนไหว  มีการยักย้ายถ่ายเท เช่น  ลมตะวันออก    ลมมีฝุ่น ลมหนาว  ฯลฯ  

ทั้งลมภายในและลมภายนอก มีความสัมพันธ์กันภายใต้ กฎธรรมชาติ หรือนิยาม ๕    มนุษย์นำลมมาใช้ประโยชน์  โดยการศึกษาธรรมชาติของลมภายในตัวมนุษย์ ในขันธ์ ๕ และศึกษาลมภายนอกมนุษย์เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาชีวิต      ลมอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์เช่นเดียวกับทุกสรรพสิ่ง มนุษย์จึงนำลมมาใช้พัฒนาจิตวิญญาณของตนเพื่อให้เข้าสู่ความจริงโดยการใช้ลมเป็นตัวเชื่อม    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเน้นการนำลมมาใช้พัฒนาชีวิตในสติปัฏฐาน ๔ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการใช้ลมหายใจเข้าออก หรือ อานาปานัสสติ ๑๖ ขั้น  พระองค์ทรงให้ความสำคัญ เพราะการทำอานาปานนัสสติมีผลมาก  มีอานิสงส์มาก

ผลการวิจัยทำให้มองเห็นว่าการบูรณาการลมในสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้ง ๒ ชนิด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทางพระพุทธศาสนาด้วยวิธีการ รู้จักลม รู้จักการใช้ลม ให้เกียรติลม ยอมรับลม  สุดท้ายก็ไม่ยึดติดในลม

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕