หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาลำดวน วรปญฺโญ (พุทพิมพา)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๕ ครั้ง
ศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในบทอาขยาน (๒๕๔๙)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาลำดวน วรปญฺโญ (พุทพิมพา) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีรัตนดิลก
  ผศ.ดร.เสวณิต วิงวอน
  นายสมชัย ศรีนอก
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
 
บทคัดย่อ

              วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของบทอาขยานที่เคยมีมาในอดีตและวิเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยซึ่งกระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้เมื่อปี ๒๕๔๒ ทั้งบทหลัก บทรอง ระดับประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ และระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ รวมสี่ช่วงนั้น ผู้วิจัยวิเคราะห์คำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในบทอาขยาน และคุณค่าของ     บทอาขยานที่มีต่อสังคมไทย เพื่อยืนยันความสำคัญของบทอาขยาน

           บทอาขยานนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรม สะท้อนภาพการศึกษาในอดีตที่ผูกพันกับพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ การท่องจำบทอาขยานเป็นกระบวนการศึกษาที่เรียกว่า “มุขปาฐะ”        โดยการถ่ายทอดความรู้จากปากต่อปาก เช่นเดียวกับการจำพระไตรปิฏกของพระพุทธศาสนาและเพื่อง่ายแก่การจำก็มักแต่งเป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองชนิดต่างๆ เมื่อศึกษาวิเคราะห์            บทอาขยานภาษาไทยพบว่ามีคำประพันธ์ที่แต่งด้วยร้อยกรองหลายประเภทเช่น ประเภทกาพย์ ประเภทกลอน ประเภทโคลง ประเภทฉันท์ ประเภทร่าย พบหลักฐานการเกิดขึ้นของบทอาขยานภาษาไทยครั้งแรกสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชนุภาพ และกวีอีกหลายคนช่วยกันแต่งบทดอกสร้อยสุภาษิตเพื่อเด็กท่องจำ
           บทอาขยานทั้งสิ้นมีการสอดแทรกหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ระดับประถมศึกษาจัดไว้ สิบสี่หมวด คือ หลักธรรมเกี่ยวกับความกตัญญูกตเวที ความสามัคคี วิริยะความเพียร ปัญญา          ทาน กรรม วาจาการพูด สัจจะ อบายมุข เมตตา อิทธิบาท ๔ สติ ศีล และไตรลักษณ์ ส่วนระดับมัธยมศึกษา มี ๑๗ หมวด คือ หลักธรรมเกี่ยวกับความกตัญญูกตเวที การคบมิตร
 
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕