หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาทรงวิทย์ ธรวิชฺโช (คงไพศาล)
 
เข้าชม : ๒๐๑๔๒ ครั้ง
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้หลัก สุ จิ ปุ ลิ วิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนวัดพนัญเชิง (ไตรรัตนนายก) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาทรงวิทย์ ธรวิชฺโช (คงไพศาล) ข้อมูลวันที่ : ๐๓/๑๒/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ชวาล ศิริวัฒน์
  พระวิเทศพรหมคุณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

 

 

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้หลัก สุ จิ ปุ ลิ วิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนวัดพนัญเชิง (ไตรรัตนนายก) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ ๒) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การพัฒนากิจกรรมการเรียนโดยประยุกต์หลัก สุ จิ ปุ ลิ วิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนวัดพนัญเชิง (ไตรรัตนนายก) จังหวัดพระนครศรีอยุธยาก่อนเรียน และหลังเรียน ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งศึกษากับประชากรที่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนวัดพนัญเชิง (ไตรรัตนนายก) จำนวน ๒๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ ๑) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้หลัก สุ จิ ปุ ลิ วิชาเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนวัดพนัญเชิง (ไตรรัตนนายก) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๑ แผน ๔ ชั่วโมง และ ๒) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน แบบปรนัยเลือกตอบ ก ข ค ง แบบ ๔ ตัวเลือกจำนวน ๑๕ ข้อ และหลังเรียน แบบปรนัยเลือกตอบ ก ข ค ง แบบ ๔ ตัวเลือกจำนวน ๑๕ ข้อ และแบบอัตนัย ๔ ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยจากสูตรการหาค่า IOC เทียบกับเกณฑ์ที่ระดับความสอดคล้องตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไปถือว่าเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีความสอดคล้อง

 

              ผลการศึกษา พบว่า

 

 

 

 

              ๑. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้หลัก สุ จิ ปุ ลิ วิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนวัดพนัญเชิง (ไตรรัตนนายก) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ผลการทดลองทั้งก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ผลหลังจากการทดลอง นักเรียนมีสมาธิในการฟังมากขึ้น หลังจากเล่านิทานเสร็จ จึงได้แจกแบบสอบถามหลังการเรียนให้ทำอีกครั้งหนึ่ง ผลสรุปได้ว่านักเรียนทุกกลุ่ม สามารถทำแบบสอบถามได้ทุกคน คะแนนเฉลี่ย ๑๐ – ๑๕ คะแนน ในคะแนนเต็ม ๑๕ คะแนน ส่งผลให้การทดลองทุกด้าน เกิดประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

              ๒. ผลสัมฤทธิ์การพัฒนากิจกรรมการเรียนโดยประยุกต์หลัก สุ จิ ปุ ลิ วิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนวัดพนัญเชิง (ไตรรัตนนายก) จังหวัดพระนครศรีอยุธยาก่อนเรียน และหลังเรียน พบว่า นักเรียนกลุ่ม สุ การฟัง สามารถทำคะแนนหลังจากการเรียนรู้แล้ว เฉลี่ยได้เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานสูงที่สุด คือ ๘๕.๕๓รองลงมาคือ นักเรียนกลุ่ม ลิ การเขียน สามารถทำคะแนนเฉลี่ยที่ ๘๒.๒๐%  อันดับที่ ๓ คือ นักเรียนกลุ่ม ปุ การถาม สามารถทำคะแนนเฉลี่ยที่ ๗๗.๗๓อันดับที่ ๔ คือ นักเรียนกลุ่ม จิ การคิด สามารถทำคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ ๗๓.๓๓% ซึ่งนักเรียนกลุ่ม ปุ การถาม และกลุ่ม จิ การคิด ทำคะแนนได้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้ทั้งสองกลุ่ม

 

 

 

              ข้อเสนอแนะโรงเรียนควรตระหนักถึงการทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมหลัก สุ จิ ปุ ลิ ทั้ง ๔ ด้านเป็นสำคัญ ควรเพิ่มแบบเรียนที่มีความหลากหลาย มีนิทานธรรมให้นักเรียนได้ฝึกฝนการฟัง คิด ถาม เขียนที่มากขึ้น มีการเรียนการสอนที่เป็น Child Center โดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออกยิ่งขึ้น

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕