หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อิสราภรณ์ วิชิตพันธ์
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๐ ครั้ง
แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : อิสราภรณ์ วิชิตพันธ์ ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิน งามประโคน
  ระวิง เรืองสังข์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๑ ๒) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี และ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณโดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลากรครู จำนวน ๓๓๑ คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพโดย มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๓ คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

๑. สภาพการส่งเสริมการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๑ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีปัญหา คือ ๑) ด้านแรงจูงใจที่มีปัญหา ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกับการความต้องการของผู้เรียน ครูควรประเมินความรู้เดิมของนักเรียน และมีการนำวิทยากรมาให้ความรู้ในการจัดการเรียนการสอน ๒) ด้านการส่งเสริมด้านสิ่งเร้า ได้แก่ นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นักเรียนควรได้เรียนรู้ลงมือปฏิบัติจริงได้เห็นประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง การเสริมแรง ๓) ด้านการเสริมแรงสภาพปัญหา ได้แก่ นักเรียนมีความภาคภูมิใจในการเรียนรู้ได้ตรงตามความสนใจของตนเอง ผู้บริหาร ครูผู้สอนควรให้การสนับสนุน เช่น การจัดประกวดโครงงานต่างๆ จนได้รับรางวัล

          ๒. แนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๑ พบว่า ๑) ด้านแรงจูงใจครูควรส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนตามความถนัด คอยให้คำแนะนำในการศึกษาต่อ โดยส่วนใหญ่ตัวนักเรียนมีแรงจูงใจมาจากรุ่นพี่ที่ไปศึกษาต่อตามสถาบันการอาชีพต่างๆ ผู้เรียนได้เห็นผลลัพธ์และผลตอบแทนจากผลงานของตนเอง จึงทำให้เกิดข้อเบี่ยงเบนในการตัดสินใจที่จะศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไป ๒) ด้านสิ่งเร้าความสามารถในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ๓) ด้านการเสริมแรงครูผู้สอนควรส่งเสริมความรู้ความสามารถโดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้นำเสนอผลงานของตนเองอย่างเต็มศักยภาพ

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕