หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ทินกร มาตผุด
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองในการส่งเสริมการรักษาศีล 5 สำหรับนักเรียนของโรงเรียนวัดตะวันเรือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : ทินกร มาตผุด ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ประยูร แสงใส
  พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองในการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ สำหรับนักเรียนของโรงเรียนวัดตะวันเรือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต ๑. ๒) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง สำหรับนักเรียนของโรงเรียนวัดตะวันเรือง ๓) นำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง จำนวน ๑๓๘ คน และเก็บข้อมูลสัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง จำนวน ๕ คน ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง โรงเรียนวัดตะวันเรือง ทั้งหมดจำนวน ๑๓๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามการวัดระดับความคิดเห็นต่อสภาพการมีส่วนร่วมผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองในการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ แบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือ ตอนที่ ๑ สถานภาพส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ ๒ เป็นแบบสอบถามที่มีมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ มีความเชื่อมั่น ๐.๙๕๘๕  ตอนที่ ๓ ข้อเสนอแนะสภาพการมีส่วนร่วมผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองในการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique)

 

 

 

ผลการวิจัย พบว่า

 

          ๑. เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองในการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ สำหรับนักเรียนของโรงเรียนวัดตะวันเรือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต ๑ พบว่า การให้ความร่วมมืออยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นด้าน โดยเรียงจากมากไปหาน้อย คือ การเว้นจากสิ่งมึนเมา เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการลักขโมย เว้นจากการฆ่าสัตย์ เว้นจากพูดเท็จและการหลอกลวงตามลำดับ

          ๒. เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง สำหรับนักเรียนของโรงเรียนวัดตะวันเรือง พบว่า การให้นโยบายและหลักการปฏิบัติตลอดถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการรักษาศีล ๕ ในโรงเรียน ควรเริ่มต้นจากการสืบหาเหตุปัจจัยที่ทำให้นักเรียนไม่รักษาศีล ๕ และเปิดโอกาสให้ได้ศึกษาและสนทนาเพื่อสร้างแนวทางการมีส่วนร่วม และดำเนินการตามแนวทางการส่งเสริมรักษาศีล ๕ พบว่า ทางโรงเรียนได้มีนโยบายและนำนโยบายสู่การปฏิบัติตามช่วงเทศกาลต่าง ๆ โดยมีผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

๓. เพื่อนำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองการส่งเสริมรักษาศีล ๕ สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดตะวันเรือง พบว่า การส่งเสริมที่ดีที่สุดคือการทำตัวเป็นแบบอย่าง  ที่ดีตลอดจนการได้นำพาลงมือปฏิบัติในการทำความดีไม่ชักนำในทางที่เสื่อมเสียและแนวทางการรักษาศีล ๕ นั้น คือ ๑) ให้เพียรละความชั่ว ๒) ให้เร่งทำความดี และ ๓) ให้หมั่นชำระจิตใจให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ

ข้อเสนอแนะการปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อความศรัทธานักเรียน ต้องให้ความสำคัญและควรคำนึงถึงเอาใจใส่ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ ก็จะสามารถเป็นแบบอย่างและเป็นแนวทางการรักษาศีล ๕ ในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕