หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ชัญญาดา โพนสิงห์
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๕ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูโรงเรียนเทศบาล ๔ (ฉลองรัตน์) อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
ชื่อผู้วิจัย : ชัญญาดา โพนสิงห์ ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาปริญญา วรญาโณ
  บุญส่ง สินธุ์นอก
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ๑) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ๑) หลักพรหมวิหาร ๔ และจรรยาบรรณวิชาชีพครู ๒) แนวคิดจรรยาบรรณวิชาชีพครู และหลักพรหมวิหาร ๔ ของครูโรงเรียนเทศบาล ๔ (ฉลองรัตน์) อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย  และ ๓) แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร ๔ ของครูตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูของโรงเรียนเทศบาล ๔ (ฉลองรัตน์) อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

             ผลการวิจัยพบว่า

             จรรยาบรรณวิชาชีพครูทำให้เป็นครูที่ดี เป็นที่รักใคร่ชอบและชอบพอของคนอื่นนอกจากนี้คนดีย่อมทำประโยชน์แก่ตนเอง และคนอื่นด้วย การไม่ทำชั่วเป็นการลดภาระของสังคมที่ไม่ต้องแก้ปัญหา การทำดีจึงเป็นประโยชน์แก่สังคม และช่วยให้สังคมพัฒนาไปสู่ความเจริญ และเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ครูท่านอื่นๆ

           แนวคิดหลักพรหมวิหาร ๔ ของครูโรงเรียนเทศบาล ๔ (ฉลองรัตน์) พบว่า ครูจะต้องมีเมตตาคือความรักปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข  มีกรุณา หมายถึงความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ หมายถึง พฤติกรรม หวังดีเมื่อมีผู้อื่นได้รับความทุกข์ร้อน ตกทุกข์ได้ยาก ก็รู้สึกสงสาร หวั่นใจไปตามเมื่อเห็นเขามีความทุกข์ มุทิตาหมายถึง ความรู้สึกชื่นชม เบิกบานใจและพลอยยินดีเมื่อบุคคลอื่นประสบผลสำเร็จด้วยความจริงใจ หลักอุเบกขา หมายถึง การวางท่าทีของจิตใจให้เป็นกลางต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นคุณธรรมที่ทำให้ลดอคติ ๔ คือ รัก ชัง หลง และกลัว

 

             แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหารธรรมกับการสอนบ้างพบว่า แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหารธรรมกับการสอนอยู่แล้ว เช่น พยายามส่งเสริมให้ครูผู้สอน มีการนำหลักเมตตา ความรัก ความปรารถนาดี หลักกรุณา คือความสงสาร ปรารถนาจะช่วยให้พ้นจากความทุกข์และปัญหาอุปสรรคนานาประการ หลักมุทิตา ความพลอยยินดีด้วย การสนับสนุนและส่งเสริม การให้ความชื่นชมและการให้ของรางวัลในโอกาสที่ทาดีหรือประสบความสำเร็จอย่างใดอย่างหนึ่ง มีการนำเอาหลักอุเบกขามาใช้ในการติดสิน ตอนที่ผู้เรียนหรือลูกศิษย์มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกัน ก็ตัดสินโดยความเที่ยงธรรม ยุติธรรม หรือรักลูกศิษย์เท่ากัน มีอะไรก็แบ่งปันให้เท่าๆ กัน

Download

 

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕