หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระธนาเทพ สกฺกวํโส (ศักดิ์วงค์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๓ ครั้ง
ศึกษาการอนุรักษ์ก๋องปู่จาของชาวพุทธ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
ชื่อผู้วิจัย : พระธนาเทพ สกฺกวํโส (ศักดิ์วงค์) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูพิพิธสุตาทร
  เทพประวิณ จันทร์แรง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ ศึกษาการอนุรักษ์ก๋องปู่จาของชาวพุทธ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง วัตถุประสงค์ ๓ ข้อ ๑) เพื่อศึกษาความเป็นมาของก๋องปู่จาในล้านนา ๒) เพื่อศึกษาคุณค่าก๋องปู่จาของชาวพุทธในล้านนา ๓) เพื่อศึกษากระบวนการอนุรักษ์ก๋องปู่จาของชาวพุทธ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

             ผลการศึกษาพบว่า ก๋องปู่จา มีการสร้างในวัฒนธรรมล้านนากลุ่มชาติพันธ์หลายกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา สามารถแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ กลองหน้าเดียว กับ กลองสองหน้า (๑) กลองที่ขึงหนังหน้าเดียว มีลักษณะต่างกันไป กลองที่มีลักษณะก้นยาวเรียกว่า กลอง  ตีนช้าง รวมถึงกลองปู่เจ กลองสิ้งหม้อง กลองหลวง กลองแอว เป็นกลองผสมผสานไว้ตีสักการะในขบวนแห่ต่างๆ (๒) กลองที่ขึงหนังสองหน้าเรียก กลองมองเชิง กลองซิ้งหม้อง กลองตะหลดปด กลองเต่งเถิ้ง กลองป่งโป้ง กลองชัยมงคล กลองปู่จา และกลองสะบัดชัย ถือเป็นกลองสักการะต่างๆ

             คุณค่าที่พบจากก๋องปู่จา แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ (๑) คุณค่าด้านวัตถุธรรม (๒) คุณค่าจานามธรรมหรือ จัดเป็นจริยธรรม และคุณธรรม คุณค่าก๋องปู่จาเป็นภมิปัญญาสื่อความหมายทางประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น คุณค่าก๋องปู่จาในฐานะเป็นเครื่องช่วยอนุเคราะห์ชาวบ้าน ในฐานะเป็นก๋องพิธีกรรมความเชื่อท้องถิ่น คุณค่าในการใช้เป็นอาณัติสัญญาณบอกถึงความคงอยู่ทางสุนทรียภาพในสังคมอันมีคุณค่าทางด้านจิตใจสร้างความสามัคคี และทรงคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจที่สนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปางได้เป็นอย่างดี

             การอนุรักษ์ก๋องปู่จามี ๒ อย่าง คือ (๑) อนุรักษ์ในวัด เป็นการอนุรักษ์การตีและมีการดูแลรักษา มีรูปแบบแห่งการอนุรักษ์โดยสร้างโรงกลองเป็นที่เก็บรักษาไว้ มีขาตั้งยกพื้นเพื่อป้องกันความชื้นจากไต้ดินและเชื้อราต่างๆ และอนุรักษ์การตีจะเน้นเพื่อบูชาพระรัตนตรัย บอกอาณัติสัญญาณ และใช้ประกอบพิธีงานบุญ มีขั้นตอนการเรียนการสอนไม่เป็นระบบ มีพระสงฆ์ สามเณรและลูกศิษย์วัด รวมถึงมรรคทายก ตีในวันโกน วันพระ ทั้งในรอบนอกและในเมือง ท่วงทำนอง    แบบโบราณ ช้า และเร็ว ตามภูมิความรู้ และตีได้ในวันเวลาดังกล่าวเท่านั้น และการอนุรักษ์ก๋องปู่จา นอกวัดเป็นการอนุรักษ์การตีและแบบใหม่ มีการพัฒนาต่อยอด ทั้งรูปแบบของกลองสมัยใหม่ และลีลากระบวนท่าประกอบการตี รวมถึงบทเพลงหรือ ระบำเพลง มีข้อห้ามเพียงไม่ให้ผู้หญิงตีก๋องปู่จา และไม่ให้ประกอบท่าโดยใช้หมัดศอกเข่า ทิ่มแทงกลอง แม้จะไม่ได้ลงอักขระหรือคาถา บนกลองก็ตาม ไม่มีข้อจำกัด ในเรื่องวัยสามารถตีกลองบูชาสมัยใหม่ได้

 

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕