หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูศรีปรีชากร (เลื่อน บุญยงค์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๕ ครั้ง
แนวทางการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสันติสุขในสังคมไทย
ชื่อผู้วิจัย : พระครูศรีปรีชากร (เลื่อน บุญยงค์) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  -
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓ ประการ ดังนี้ คือ ๑. เพื่อศึกษาแนวทางการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสันติสุข ๒. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการสื่อสารในสังคมไทย ๓. เพื่อวิเคราะห์แนวทางการสื่อสารเชิงพุทธสันติสุขในสังคมไทย

ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสันติสุข เป็นแนวทางการสื่อสารด้วยหลักสัมมาวาจาซึ่งเป็นทางสายกลางในมรรคมีองค์ ๘ คือ วจีสุจริต ๔ อย่าง (๑) เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ (๒) เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด (๓) เจตนางดเว้นจากการพูดหยาบ (๔) เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ และหลักวาจาสุภาษิต คือ (๑) พูดถูกกาล (๒) พูดคำจริง (๓) พูดคำอ่อนหวาน (๔) พูดคำมีประโยชน์ และ (๕) พูดด้วยเมตตาธรรมไม่มีอคติ  ในขณะเดียวกัน พระพุทธเจ้าในฐานะผู้สื่อสารถือได้ว่าเป็นสุดยอดอัจฉริยะบุคคลที่รู้จักกาลเทศะ บุคคล และกลุ่มบุคคล อย่างแท้จริง และทรงมีพระกรุณาต่อมหาชนจึงทรงสื่อสารอย่างมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์สุขของมหาชน ผู้รับสารที่มีสติปัญญาจึงศรัทธารับฟังจนบรรลุเป้าหมายที่เป็นสันติสุขในชีวิต  การศึกษาสภาพปัญหาการสื่อสารในสังคมไทย พบว่า มีการสื่อสารที่ประกอบด้วย ๔ ลักษณะ คือ (๑) สื่อสารด้วยวาจาเท็จ (๒) สื่อสารด้วยวาจาส่อเสียด (๓) สื่อสารด้วยวาจาหยาบ (๔) สื่อสารด้วยวาจาเพ้อเจ้อ ทางสื่อออนไลน์อันเป็นสาเหตุให้เกิดคำว่า “Hate speech” ก็คือวจีทุจริต ๔ ซึ่งเป็นการพูดหรือการเขียนที่สร้างความเกลียดชังต่อกัน เป็นบ่อเกิดแห่งสงครามที่หักล้างผลประโยชน์กันทางสังคมการเมือง เศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิตปกติของคนในสังคมไทยและสังคมโลกในขณะนี้  แนวทางการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสันติสุขในสังคมไทยตามแนวทางพระพุทธศาสนา ควรนำหลักวจีสุจริต ๔ ประการ คือ (๑) ไม่พูดเท็จ (๒) ไม่พูดส่อเสียด (๓) ไม่พูดหยาบ (๔) ไม่พูดเพ้อเจ้อ ร่วมกับสารณียธรรม ๖ ประการ คือ (๑) ให้มีเมตตากายกรรม (๒) ให้มีเมตตาวจีกรรม (๓) ให้มีเมตตามโนกรรม (๔) การแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมอย่างสม่ำเสมอกัน (๕) การมีความประพฤติถูกต้องบริสุทธิ์เหมือนกัน (๖) มีความเห็นสอดคล้องกันในทิศทางเดียวกัน ธรรม ๖ ประการนี้ มีคุณ ทำให้เป็นที่ระลึก ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี และเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕