หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระนิพนธ์ โกวิโท (แลเชอะ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๕ ครั้ง
ปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกที่มีต่อพฤติกรรมการปรับตัวของสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดปทุมธานี (สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา)
ชื่อผู้วิจัย : พระนิพนธ์ โกวิโท (แลเชอะ) ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  กมลาศ ภูวชนาธิพง
  สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๗ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการปรับตัวของสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดปทุมธานี ๒) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกกับพฤติกรรมการปรับตัวของสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดปทุมธานี ๓) เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการปรับตัวของสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดปทุมธานี

 

              กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ สามเณรที่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ในระดับมัธยมตอนต้นและมัธยมตอนปลาย ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดปทุมธานี จำนวน ๙๗ รูป วิธีดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อวัดผลปัจจัยการปรับตัวของสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดปทุมธานี สถิติที่ใช้คือ สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมารฐาน ได้แก่ การทดสอบค่า (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (F-test/ One-Way ANOVA)

 

              ผลการวิจัยพบว่า :

              ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า ๑๕ ปี เป็นบุตรลำดับที่ ๑ อาศัยอยู่กับบิดาและมารดา มีผลการศึกษา ๓.๐๐ – ๓.๔๙ อยู่ในระดับชั้นมัธยมตอนต้น มีระยะเวลาในการบรรพชา ๑-๓ ปี โดยที่อยู่ปัจจุบันพักอาศัยรวมกับเพื่อนสามเณร และมีภูมิลำเนาเดิมคือภาคอีสาน

              สามเณรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ๓.๕๗ เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ความยึดหยุ่น การมองโลกในแง่ดีและความหวัง    อยู่ในระดับมาก ส่วนความเชื่อมั่นในความสามรถของตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง

              ปัจจัยส่วนบุคคลด้านที่พักอาศัยก่อนบรรพชามีความสัมพันธ์กับการปรับตัวด้านอารมณ์ (จิตใจ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านผลการเรียนมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวด้านสติปัญญาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

 

 

              ปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกด้านความหวังมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวด้านร่างกาย   และสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกด้านความหวังมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวด้านร่างกาย สังคม และสติปัญญาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ        ๐.๐๕

              ปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวก คือ ความหวัง ด้านการมองโลกในแง่ดี และด้านความยึดหยุ่น มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปรับตัวของสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดปทุมธานี อย่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕