หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ณัชชา สกุลศิริปริณดา
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๗ ครั้ง
ศึกษาปัจจัยจิตลักษณะและปัจจัยจิตสังคมที่มีผลต่อกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา)
ชื่อผู้วิจัย : ณัชชา สกุลศิริปริณดา ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท
  ประยูร สุยะใจ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาปัจจัยจิตลักษณะและปัจจัยจิตสังคมที่มีผลต่อกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ เปรียบเทียบปัจจัยจิตลักษณะและปัจจัยจิตสังคมที่มีผลต่อกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย พระนครศรีอยุธยา รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างนิสิตชั้นปีที่ ๑-๒-๓ ที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์ รวมทั้งสิ้น ๕๐ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติเอฟ (F-test) และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation)    

               ผลการศึกษาพบว่า
 
              ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการเรียนรู้หลักสูตรพุทธจิตวิทยาส่วนปัจจัยทางจิตลักษณะและจิตสังคมมีความสัมพันธ์ต่อกระบวนการเรียนรู้หลักสูตรพุทธจิตวิทยา ของนิสิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดังนี้

               ๑)  ความเชื่อมั่นในตน มีความสัมพันธ์กับกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตด้านการจัดการเรียนการสอน
 
              ๒)  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีความสัมพันธ์กับกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน  ด้านการใช้สื่อการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และในภาพรวม
 
              ๓)  ลักษณะมุ่งอนาคต มีความสัมพันธ์กับกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิต ในทุกด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรม ด้านการใช้สื่อการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และในภาพรวม
 
              ๔)  สัมพันธภาพกับเพื่อน  มีความสัมพันธ์กับกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรม ด้านการใช้สื่อการสอน และในภาพรวม
 
              ๕)  สัมพันธภาพกับครอบครัว มีความสัมพันธ์กับกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน และในภาพรวม
 
              ๖)  สัมพันธภาพกับอาจารย์ มีความสัมพันธ์กับกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตในทุกด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรม ด้านการใช้สื่อการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และในภาพรวม
 
          ดังนั้นปัจจัยจิตลักษณะและปัจจัยจิตสังคม มีความสัมพันธ์กับกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๑ และ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕ เมื่อพิจารณาจำแนกตามคู่ปัจจัยจิตลักษณะและปัจจัยจิตสังคม สามารถอธิบายได้ดังนี้ ปัจจัยด้านความเชื่อมั่นในตน ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านลักษณะมุ่งอนาคต ด้านสัมพันธภาพกับเพื่อน ด้านสัมพันธภาพกับครอบครัว ด้านสัมพันธภาพกับอาจารย์ พบว่า มีความสัมพันธ์กับกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตในทุกด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรม ด้านการใช้สื่อการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล

 

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕