หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ธนัทพัชร์ รชตพงศ์สันต์
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๘ ครั้ง
แนวทางการโค้ชชิ่งการปฏิบัติธรรมตามหลักกัลยาณมิตรของวัดพระธรรมกาย (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : ธนัทพัชร์ รชตพงศ์สันต์ ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์ จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ
  พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการโค้ชชิ่งการปฏิบัติธรรมตามหลักกัลยาณมิตรของวัดพระธรรมกาย ๒) เพื่อศึกษาการโค้ชชิ่งการปฏิบัติธรรมตามหลักกัลยาณมิตรของ     วัดพระธรรมกาย ๓) เพื่อเสนอแนวทางการโค้ชชิ่งการปฏิบัติธรรมตามหลักกัลยาณมิตรของ               วัดพระธรรมกาย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยมีกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ผู้เข้าโครงการปฏิบัติธรรมพิเศษ ๓๐๖ คน มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม     และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

              ผลการวิจัย พบว่า

              ๑. สภาพการโค้ชชิ่งการปฏิบัติธรรมตามหลักกัลยาณมิตรของวัดพระธรรมกายโดยภาพรวม มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก และรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้ง ๗ ด้าน ได้แก่ ด้านปลูกฝังคุณธรรม สร้างอุปนิสัยที่ดี ให้เกิดสัมมาทิฐิ รองลงมา คือ ด้านให้การสั่งสอนให้ความรู้ศีลธรรมแก่ประชาชน ด้านการนำปฏิบัติธรรมประจำวัน ด้านเป็นสถานที่หล่อหลอมศูนย์รวมชาวพุทธ ด้านการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและมหาปูชียาจารย์ และด้านเป็นสถานที่อบรมพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาด้านการปฏิบัติ ตามลำดับ

              ๒. การโค้ชชิ่งการปฏิบัติธรรมตามหลักกัลยาณมิตรของวัดพระธรรมกายประกอบด้วย          ๑) การส่งเสริมให้คนมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติธรรมโดยผู้สอนไม่ชักนำไปในทางที่เสื่อมเสีย              (โน จฏฐาเน นิโยชเย))การอธิบายข้อมูลการปฏิบัติธรรมโดยผู้สอนสามารถชี้แจงเรื่องล้ำลึกให้เข้าใจได้   (คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา)) การค้นหาวิธีการแก้ปัญหาโดยผู้สอนมีความรู้จริง (ภาวนีโย น่าเจริญใจ)               ๔) การให้ความช่วยเหลือโดยผู้สอนทนต่อถ้อยคำพร้อมรับฟังคำปรึกษา (วจนกฺขโม) ๕) การสร้างแรงบันดาลใจโดยผู้สอนรู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักพูดชี้แจงให้เข้าใจ (วตฺตา)) การสาธิตการปฏิบัติธรรมโดยผู้สอนมีความ  น่าเคารพ มีความประพฤติสมควรแก่ฐานะ (ครุ) ๗) การเป็นกัลยาณมิตรโดยผู้สอนมีความน่ารัก เข้าถึงจิตใจ ผู้ปฏิบัติ (ปิโย)

๓. แนวทางการโค้ชชิ่งการปฏิบัติธรรมตามหลักกัลยาณมิตรของวัดพระธรรมกาย เป็นการบูรณาการแนวทางการปฏิบัติธรรมเข้ากับหลักกัลยาณมิตรเพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถปฏิบัติได้ผลดียิ่งขึ้น อันเป็นการสร้างความน่ารัก เข้าถึงจิตใจและการเป็นกัลยาณมิตร น่าเคารพมีความประพฤติสมควรแก่ฐานะ และสาธิตการปฏิบัติธรรม โดยวิทยากรควรนำปฏิบัติธรรมได้ตามรูปแบบที่ได้ศึกษามา           มีแนวทางปฏิบัติที่น่าเจริญใจ มีความรู้จริง และค้นหาวิธีการแก้ปัญหา รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักพูดชี้แจงให้เข้าใจ และสร้างแรงบันดาลใจทนต่อถ้อยคำพร้อมรับฟังคำปรึกษา และการให้ความช่วยเหลือโดยวิทยากรควรมีจิตใจเมตตา ชี้แจงเรื่องล้ำลึกให้เข้าใจได้ และการอธิบายข้อมูลการปฏิบัติธรรม มีทักษะการสอน การแนะนำหลากหลายวิธีการและเข้าใจง่าย ส่งเสริมให้คนมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติธรรม         โดยวิทยากรควรชี้แนะผู้ปฏิบัติธรรมสามารถปฏิบัติธรรมได้ และผู้อำนวยการและวิทยากรส่งเสริมแนวทางการปฏิบัติและความรับผิดชอบเพื่อพัฒนาการโค้ชชิ่งให้มีประสิทธิภาพต่อไป

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕