หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสมชาย โชติญาโณ
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๑ ครั้ง
ความงอกงามแห่งตนตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้สูงอายุในชุมชนวัดชัยฉิมพลี กรุงเทพมหานคร (สาขาวิชาชีวิตและความตาย)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสมชาย โชติญาโณ ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เริงชัย หมื่นชนะ
  นวลวรรณ พูนวสุพลฉัตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การศึกษา ความงอกงามแห่งตนตามหลักอริยสัจ ๔ ของผู้สูงอายุ ในชุมชนวัดชัยฉิมพลี เขตภาษีเจริญ จังหวัดกรุงเทพมหานคร  เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับความทุกขอริยสัจของผู้สูงอายุในชุมชนวัดชัยฉิมพลี  ) เพื่อศึกษาระดับความงอกงามแห่งตนของผู้สูงอายุ ๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอิทธิพลระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และระดับความทุกขอริยสัจกับความงอกงามแห่งตนของผู้สูงอายุ  ใช้รูปแบบการวิจัยสำรวจเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง แบบภาคตัดขวาง  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งชุดจำนวน ๓๕ ข้อคำถาม เท่ากับ .๙๓  ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น ได้จำนวนตัวอย่างซึ่งเป็นผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ในชุมชนวัดชัยฉิมพลี จำนวน  ๑๒๖ คน  ผลการวิจัยพบว่า
            ๑.
ลักษณะทางประชากรของผู้สูงอายุในชุมชนวัดชัยฉิมพลี เป็นผู้สูงอายุเพศชาย ร้อยละ ๕๔.๘ และเพศหญิง ๔๕.๒  ส่วนใหญ่มีช่วงอายุ  ๖๐-๖๙ ปี  ร้อยละ ๕๙.๕   (ค่าเฉลี่ยอายุ เท่ากับ ๖๙.๓ ปี)   จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา  ร้อยละ ๗๖.๒  อาชีพเดิมทำการค้าขายหรือธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ ๔๗.๖  รองลงมารับจ้างทั่วไป  ร้อยละ ๓๕.๗    สำหรับรายได้ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า ๕,๐๐๐ บาท  ร้อยละ ๕๐.๘   ผู้สูงอายุใช้ชีวิตคู่ ร้อยละ ๔๙.๒  รองลงมาเป็นหม้าย/หย้าร้าง/แยกทาง ร้อยละ ๓๔.๙ และเป็นโสด ร้อยละ ๑๕.๙  โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่คงอยู่กับครอบครัวและลูกหลาน  ๘๒.๕   และอาศัยอยู่ในบ้านของตนเอง ร้อยละ ๖๒.๗     
            ๒.ด้านทุกขอริยสัจของผู้สูงอายุ พบว่าปัญหาหรือทุกขอริยสัจของผู้สูงอายุในชุมชนวัดชัยฉิมพลี มีระดับทุกขอริยสัจ
อยู่ในระดับพอใช้  โดยทุกข์เพราะสภาพร่างกายเสื่อมถอยลง ทุกข์เพราะสภาพจิตใจไม่สงบสุข ทุกข์เพราะครอบครัวและลูกหลาน ทุกข์เพราะไม่มีงานและไม่มีรายได้               

            ๓. ด้านระดับความงอกงามแห่งตนของผู้สูงอายุ  โดยภาพรวมของระดับความงอกงามแห่งตนของผู้สูงอายุในชุมชนวัดชัยฉิมพลีมี อยู่ในระดับพอใช้   พิจารณาตามองค์ประกอบความงอกงามแห่งตน ด้านกัลยาณชน อยู่ในระดับดี   ด้านกัลยาณมิตร อยู่ในระดับพอใช้  และด้านตัวแบบผู้สูงอายุ อยู่ในระดับดี
             ๔. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความงอกงามแห่งตนของผู้สูงอายุ
พบว่า เพศ รายได้  และสถานภาพสมรส   มีความสัมพันธ์กับความงอกงามแห่งตนของผู้สูงอายุ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕   ส่วน ช่วงอายุ   อาชีพ   การอยู่อาศัยกับสมาชิกครอบครัว  และ ความเป็นเจ้าบ้าน ไม่มีความสัมพันธ์กับความงอกงามแห่งตนของผู้สูงอายุ
 
            ๕. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความงอกงามแห่งตนของผู้สูงอายุ  พบว่า เพศ  รายได้ สถานภาพสมรส และ ระดับทุกขอริยสัจของผู้สูงอายุมีอิทธิพลต่อความงอกงามแห่งตนของผู้สูงอายุ  ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .๐๕  ทั้งนี้ไม่พบว่าตัวแปรทั้ง ๔ ตัว มีอิทธิพลร่วม(Covariance)ที่ส่งผลต่อความงอกงามแห่งตนของผู้สงอายุ 
         
  ผลการวิจัยนี้ วัดชัยฉิมพลี ควรมีการจัดทำคลินิก”ความงดงามแห่งรัตตัญญู” ด้วยกระบวนการให้คำปรึกษาตามแนวทางพุทธจิตวิทยาแก่ผู้สูงอายุทุกวันพระเพื่อเป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ และต้นแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัอายุยุค ๔.๐

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕