หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปลัดพนมชัย มหาวชิโร (กิตติศักดิ์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๑ ครั้ง
การพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระปลัดพนมชัย มหาวชิโร (กิตติศักดิ์) ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูวาทีวรวัฒน์
  พระมหากังวาล ธีรธมฺโม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาการพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (๒) ศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
และ
(๓) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี (mixed methods research) เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากผู้มาเข้าปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้วิจัยได้ใช้สูตรของ
ทาโร่ ยามาเน่ (
Taro Yamane) โดยมีประชากรเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานประจำสำนักปฏิบัติธรรม และผู้ปฏิบัติธรรม จำนวน ๓ วัด จำนวน ๑,๕๙๖ คน จึงได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๒๐ คน ซึ่งใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิด และปลายเปิด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) เมื่อพบความแตกต่าง จึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD.) การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ เจ้าสำนักปฏิบัติธรรม พระวิทยากร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน ๙ รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า

๑. การพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดการ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๔๘ ส่วนด้านอื่นๆ ที่เหลืออยู่ในระดับมากทุกด้าน

๒. ผลการเปรียบเทียบระดับการพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามความคิดเห็นของผู้มาเข้าปฏิบัติธรรม จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า สถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ และอายุ ของผู้มาเข้าปฏิบัติธรรม
มีผลทำให้ความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
ส่วนสถานภาพส่วนบุคคลด้านการศึกษาสามัญ และการศึกษาทางธรรม ไม่มีผลทำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างกัน

๓. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ (๑) ด้านสถานที่ ควรสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะวัด ปัญหาที่พบคือ ขาดการดูแลเอาใจใส่ จึงจำเป็นต้องมีนโยบายการตั้งคณะกรรมการควบคุมดูแล ให้มีผู้รับผิดชอบที่เป็นรูปธรรมและเอาใจใส่จริงๆ (๒) ด้านบุคคลากร ควรมีนโยบายการประสานหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (๓) ด้านการบริหารจัดการ ปัญหาที่พบคือ การทำงานยังไม่เป็นระบบทำให้ขาดประสิทธิผลสูงสุดในการประสานงาน จึงควรมีการประสานหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อจัดสัมมนาและเชิญวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านการพัฒนาบุคคลากรและองค์กรให้ความรู้ในวัดเพิ่มเติม


 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕