หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสาม อคฺคธมฺโม
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๒ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์ความมีอยู่ของบาปในพุทธปรัชญาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสาม อคฺคธมฺโม ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโกศลศาสนบัณฑิต
  พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ อย่าง คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความมีอยู่       () เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องบาปในพุทธปรัชญาเถรวาท (๓) เพื่อวิเคราะห์ความมีอยู่ของบาปในพุทธปรัชญาเถรวาท ด้วยวิธีการศึกษาเชิงเอกสาร จากการศึกษาวิจัยพบว่า

แนวคิดความมีอยู่ มี ๒ ประเด็นในกาศึกษา คือ (๑) ความมีอยู่ในปรัชญาตะวันตก ได้กล่าวถึงใน ๒ ลักษณะคือ ๑. ความมีอยู่เชิงอัตตวิสัย ๒. ความมีอยู่เชิงภววิสัย (๒) ความมีอยู่ในพุทธปรัชญาเถรวาทที่ได้กล่าวถึงความมีอยู่ใน ๒ ลักษณะคือ ๑. เชิงสมมติสัจจะ ๒. ปรมัตถสัจจะ

แนวคิดเรื่องบาปในพุทธปรัชญาเถรวาท พิจารณาใน ๓ ประเด็น คือ ๑. บาปในฐานะกิเลส ๒. บาปในฐานะกรรม ๓. บาปในฐานะวิบาก

ความมีอยู่ของบาปในพุทธปรัชญาเถรวาท พิจารณาใน ๔ ประเด็น คือ ๑.บาปเชิงภววิสัย มีอยู่ ๒ ลักษณะคือ ก.ลักษณะบุคคลที่สัมบูรณ์และไม่สัมบูรณ์ ข.การกระทำบาปที่สัมบูรณ์และไม่สัมบูรณ์ ไม่มีเจตนาไม่มีบาป ๒.บาปเชิงอัตตวิสัย มีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ ก.ลักษณะบุคคลที่สัมบูรณ์และไม่สัมบูรณ์ ข.การกระทำบาปที่สัมบูรณ์และไม่สัมบูรณ์ ๓.บาปเชิงสมมติสัจจะ ๔.บาปเชิงปรมัตถสัจจะ พุทธปรัชญาเถรวาท เน้นทั้งที่ตัวบุคคลที่มีเจตนาหรือไม่มีเจตนา หรือจิตใจ การกระทำ ทั้ง ๓ ทางคือ กาย วาจา และจิตใจ ในขณะเดียวกันยังมีจุดมุ่งหมายสูงสุดที่การละตัวตนหรืออัตตา ให้เข้าใจชีวิตและโลกทั้งในเชิงสมมติสัจจะและปรมัตถะสัจจะ หรือเรียกว่า วิถีโลกและวิถีอริยะ

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕