หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูถาวรสิทธิการ (สรศักดิ์ ฐฃานกโร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
ศึกษาความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในการประกอบพิธีกรรม “แซนโฎนตา” อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อผู้วิจัย : พระครูถาวรสิทธิการ (สรศักดิ์ ฐฃานกโร) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชเขมากร
  พระครูโกศัยพัฒนบัณฑิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฏี เกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจตามหลักอิทธิบาท ๔ (๒) เพื่อศึกษากระบวนการแปรรูปกลอยของชุมชนไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ (๓) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้อิทธิบาท ๔ ในกระบวนการแปรรูปกลอยของชุมชนบ้านไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า

๑. การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในกระบวนการแปรรูปกลอยของชุมชนบ้านไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๗๐) ชี้ให้เห็นว่า ชุมชนบ้านไทรย้อยมีความรักความพอใจในอาชีพการแปรรูปกลอย มีความอดทน ขยันหมั่นเพียร มีการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปกลอย และศึกษาหาจุดเด่นจุดด้อยของการแปรรูปมาพัฒนาให้ดีขึ้น

๒. ปัญหา อุปสรรคของการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในกระบวนการแปรรูปกลอยของชุมชนบ้านไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ คือ ด้านฉันทะ ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือมากเท่าที่ควร และไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนในการทำอาชีพ ด้านวิริยะ วัตถุดิบเริ่มมีการหายากขึ้นต้องออกไปหาในบริเวณที่ไกลจิตตะ กระบวนการแปรรูปกลอยไม่มีความทันสมัยทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่มีความพัฒนาด้านวิมังสา  สถานที่ที่จะนำผลิตภัณฑ์จากกลอยไปวางจำหน่ายยังไม่มีความหลากหลายข้อเสนอแนะ คือ ด้านฉันทะ ควรจัดให้มีการประชุมบ่อยๆ เพื่อสร้างความร่วมมือกันในกลุ่มการแปรรูป ด้านวิริยะ   ควรส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกกันเองภายในชุมชน จิตตะควรจะมีการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐให้มาช่วยพัฒนาการแปรรูปกลอยให้ดีขึ้น วิมังสา ควรที่จะขยายหรือหาสถานที่อื่นหรือชุมชนอื่นๆ          ที่สามารถจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้

๓. แนวทางการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในกระบวนการแปรรูปกลอยของชุมชนบ้านไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ควรจะมีการพัฒนาความรู้ความชำนาญในการนำกลอยมาแปรรูป มีวัตถุดิบเพียงพอ มีอุปกรณ์ และกระบวนการแปรรูปกลอยมีความทันสมัย และมีตลาดมารองรับสินค้าด้านฉันทะ (ความพอใจ) เป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับชุมชนบ้านไทรย้อย และสามารถที่จะสร้างความสุขอันเกิดจากการมีรายได้มาจุนเจือภายในครอบครัวเป็นอย่างดียิ่งด้านวิริยะ (ความหมั่นเพียร) จะต้องมีความขยันอดทน มุ่งมั่นอย่างแท้จริง ด้านจิตตะ (ความคิด) จะต้องอาศัยความชำนาญ ความตั้งใจ และการเอาใจใส่ในการแปรรูปกลอย การหาความรู้เพิ่มเติม ด้านวิมังสา (ความไตร่ตรอง) การพิจารณาไตร่ตรองหาข้อดีข้อเสียในกระบวนการแปรรูปกลอยจะช่วยให้ชุมชนบ้านไทรย้อยมีการพัฒนากระบวนการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕