หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูเกษมอินทเขต (วงศ์มา)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๒ ครั้ง
ชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพตามวิถีพุทธแก่ผู้สูงอายุบ้านล้อง หมู่ ๒ ตำบลหนองหล่ม อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
ชื่อผู้วิจัย : พระครูเกษมอินทเขต (วงศ์มา) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ดิลก บุญอิ่ม
  สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “ชุมชนกับมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพตามวิถีพุทธแก่ผู้สูงอายุบ้านล้อง หมู่ ๒ ตำบลหนองหล่ม อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง” ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ๒) เพื่อศึกษาข้อปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับวิถีพุทธ ๓) เพื่อแสวงหารูปแบบทฤษฎีการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพตามวิถีพุทธ แก่ผู้สูงอายุ บ้านล้อง หมู่ ๒ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยเชิงเอกสารและเชิงปริมาณ

ผลการวิจัย พบว่า

แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ การมีส่วนร่วมเป็นการร่วมกันของครอบครัว ชุมชน หรือสังคม เพื่อดำเนินการในกิจกรรมที่ควรทำร่วมกันด้วยความสมัครใจ

เป็นพลังสำคัญในการร่วมกันจัดกิจกรรมสาธารณะหรือภารกิจที่เอื้อประโยชน์แก่สมาชิกในชุมชนนั้นๆ การส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ จึงเป็นภารกิจหนึ่งที่ทุกคนในชุมชนควรร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ ให้แก่ผู้สูงอายุ หลักการส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่สำคัญ คือ หลักการสร้างความสัมพันธ์ หลักการสร้างพลังชุมชนและหลักการประสานประโยชน์

 

ข้อปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับวิถีพุทธ พบว่า ด้านทาน         กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการปฏิบัติในข้อเตือนสติญาติผู้สูงอายุให้ทำใจให้สบายและให้อภัย            ในพฤติกรรมที่บกพร่องของสมาชิกในครอบครัวและเสนอแนะว่า ชุมชนควรให้กำลังใจผู้สูงอายุ ขอให้ท่านทำใจให้สบาย และให้อภัยในพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของลูกหลาน ด้านศีล กลุ่มตัวอย่าง           ส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุ โดยการพูดกับผู้สูงอายุด้วยความเมตตา กรุณา ด้วยใจจริง            และเสนอแนะว่า ชุมชนควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมผู้สูงอายุให้มีเมตตากรุณาต่อคนและสัตว์ เพื่อทำให้ท่านมีสุขภาพจิตใจที่ดี ด้านภาวนา  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้เตือนญาติผู้สูงอายุเสมอๆ ให้ระวังในเรื่องการรับประทานอาหาร และยารักษาโรค โดยต้องตรวจสอบให้เห็นชัดก่อนว่า เป็นสิ่งที่ควรรับประทานได้ ไม่มีโทษ และเสนอแนะว่า สมาชิกในครอบครัวควรถือเป็นหน้าที่ในการคอยเตือนญาติผู้สูงอายุในบ้านให้ตรวจดูยารักษาโรคให้เห็นชัดก่อนว่า  เป็นยารักษาโรคที่เป็นอยู่จริง และไม่มีโทษ  จึงค่อยรับประทาน

 

ชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพตามวิถีพุทธ แก่ผู้สูงอายุ พบว่า ด้านทาน ใช้หลักการสร้างความสัมพันธ์ โดยการดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด บนพื้นฐานของทาน คือ                   การอนุเคราะห์เกื้อกูลโดยชุมชนหมั่นให้กำลังใจผู้สูงอายุ ขอให้ท่านทำใจให้สบายและให้อภัยในพฤติกรรมที่บกพร่อง และไม่เหมาะสมของลูกหลานและสมาชิกครอบครัว ด้านศีล  หลักการสร้างพลังชุมชนที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความภาคภูมิใจ บนพื้นฐานของศีล คือการสำรวมระวัง โดยชุมชนควรให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุ โดยการพูดกับผู้สูงอายุด้วยความเมตตา กรุณา ด้วยใจจริง ด้านภาวนา ใช้ หลักการประสานประโยชน์ที่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่า บนพื้นฐานภาวนา คือ การยังกุศลให้เกิดขึ้น โดยสมาชิกในครอบครัวควรถือเป็นหน้าที่ในการคอยเตือนญาติผู้สูงอายุในบ้านให้ตรวจดูยารักษาโรคให้เห็นชัดก่อนว่า เป็นสิ่งที่ควรรับประทานได้ ไม่มีโทษ จึงค่อยรับประทาน

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕