หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » กัญจนพรรษณ์ จุพรมณี
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๔ ครั้ง
การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเชิงพุทธบูรณาการของหมู่บ้านศาลาเม็ง ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
ชื่อผู้วิจัย : กัญจนพรรษณ์ จุพรมณี ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อาภากร ปัญโญ
  สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเชิงพุทธบูรณาการ         ๒. เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเชิงพุทธบูรณาการของหมู่บ้านศาลาเม็ง ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (ภาคสนาม) พื้นที่วิจัยคือ หมู่บ้านศาลาเม็ง ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง กลุ่มเป้าหมาย คือ เจ้าอาวาส ผู้นำชุมชน ประธานชุมชน ประธานกลุ่มแม่บ้าน ประธานกลุ่ม อสม.ประชาชนหมู่บ้านศาลาเม็ง เจ้าหน้าที่ภาครัฐผู้ประกอบการและหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องจำนวน ๘ รูป/คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย    มี ๒ วิธี ได้แก่ การสนทนากลุ่มย่อยและ การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สังเคราะห์แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า  ๑. การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเชิงพุทธบูรณาการ ความเข้มแข็งของชุมชน มีพื้นฐานของความมีจิตสำนึกที่ต้องการจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยความสามัคคี ชุมชนสามารถที่จะวิเคราะห์ปัญหา และตัดสินทางเลือกนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้สำเร็จพัฒนาไปสู่การแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ทำให้ชุมชนมีความสามารถที่พึ่งตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทุกกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จจะใช้หลักการมีส่วนร่วมของชุมชน ๕ ระดับ คือ ขั้นการค้นหาปัญหา และสาเหตุของปัญหาในชุมชนตลอดจน กำหนดความต้องการของชุมชน และมีส่วนร่วมในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการ ขั้นการวางแผนพัฒนา โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนด นโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ กำหนดวิธีการและแนวทางการดำเนินงาน ตลอดจนกำหนดทรัพยากรและแหล่งทรัพยากร
ที่ใช้ขั้นการดำเนินงานพัฒนา เป็นขั้นตอนที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์โดย
การสนับสนุนทรัพย์ วัสดุอุปกรณ์และแรงงาน หรือเข้าร่วม บริหารงาน ประสานงานและดำเนินการขอความช่วยเหลือจากภายนอก ขั้นการรับผลประโยชน์จากการพัฒนา เป็นขั้นตอนที่ ประชาชน
มีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการพัฒนาหรือยอมรับ ผลประโยชน์อันเกิดจาก
การพัฒนาทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ขั้นการประเมินผลการพัฒนา เป็นขั้นที่ประชาชนเข้าร่วม ประเมินว่าการพัฒนาที่ได้กระทำไปนั้นสำเร็จตามวัตถุประสงค์เพียงใด ด้านความเข้มแข็งของชุมชน พบว่า ชาวบ้านมีความรักความสามัคคี สามารถดำเนินชีวิตอย่างสงบสุข มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นหัวใจหลักของหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง ด้านอาชีพ พบว่า มีการสร้างอาชีพให้ชาวบ้านมีการประกอบอาชีพที่สุจริต มีการฝึกอาชีพสงวนของไทยให้กับกลุ่มเยาวชน เพื่อสืบต่องาน ด้านวัฒนธรรมประเพณี พบว่า มีการปลูกฝังวัฒนธรรมประเพณีให้กับเยาวชนรุ่นหลัง เพื่อรักษาอัตลักษณ์ของหมู่บ้าน ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม พบว่า มีการดูแลและเอาใจใส่โดยเฉพาะการจัดการด้านขยะมูลฝอยประชาชนให้ความร่วมมือในการรักษาความสะอาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในชุมชน ๒. แนวทางพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเชิงพุทธบูรณาการของหมู่บ้านศาลาเม็ง ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง นอกจากการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งแล้วนั้น แนวทางการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งตามหลักธรรม
สัปปุริสธรรม  ๗ ที่นำมาบูรณาการใช้ในการดำเนินการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอีกด้วย นอกจากส่งเสริมความเข้มแข็งของคนในชุมชนแล้วยังได้บ่มเพาะปูพื้นฐานให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ มีความเข้มแข็งทางจิตสำนึก สามารถสืบสานวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในชุมชนให้เข้มแข็งสืบต่อไป

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕