หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาชาญชัย ฐิตเมธี (หนูทอง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๗ ครั้ง
การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนวัดไตรรัตนาราม เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาชาญชัย ฐิตเมธี (หนูทอง) ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล
  พระสุธีรัตนบัณฑิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนวัดไตรรัตนาราม เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร  ๒) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนวัดไตรรัตนาราม เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร  ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนวัดไตรรัตนาราม เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร     การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือเจาพนักงานของรัฐ เจาหนาที่ขององคกร ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งอยู่ภายในพื้นที่ของชุมชนวัดไตรรัตนาราม เขตบางเขนกรุงเทพมหานคร จำนวน ๑,๕๖๐ คน  ซึ่งมีกลุมตัวอย่าง จำนวน ๓๐๘ คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของทาโร่ ยามาเน (Taro Yamane)    วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่  (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard  Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด   (Scheffe’s post hoc comparison) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๙ คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique)


 ผลการวิจัยพบว่า

          ๑.การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนวัดไตรรัตนาราม    เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ทั้ง ๕ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านคุณธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๔.๑๖  ด้านความมีเหตุผล ๔.๐๗ ด้านความรู้ ๔.๐๔ ด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ๔.๐๑ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความพอประมาณ ๓.๙๘ ตามลำดับ

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕