หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » Phra Khamla Xayyavong
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๒ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำของชุมชนบ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : Phra Khamla Xayyavong ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีรัตนบัณฑิต
  โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ สิงหาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ



การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ 3 ประการ ดังนี้
1. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำของชุมชนบ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์
อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำของชุมชนบ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
3. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำของชุมชนบ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม


การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology Research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ในพื้นที่ชุมชนชุมชนบ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 322 คน โดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามทั้งหมดมาวิเคราะห์ และประมวลผล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติ ดังนี้ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)
และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Techniques)

 
ผลการวิจัยพบว่า

 1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำของชุมชนบ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ๓.๗๐ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านการตัดสินใจ ด้านการปฏิบัติการ ด้านการรับผลประโยชน์ และด้านการประเมินผล
อยู่ในระดับมากทุกด้าน และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำของชุมชนศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ๔.๑๖ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ การกำหนดเขตอนุรักษ์ การป้องกันการทิ้งขยะ-น้ำเสีย การตรวจสอบคุณภาพน้ำ และการสร้างจิตอาสา อยู่ในระดับมากทุกด้าน

 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำของชุมชนบ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาของการอาศัยอยู่ในชุมชน และการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยทีมีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำของชุมชนบ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน
 
3. ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำของชุมชนบ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พบว่า ประชาชนในชุมชนไม่ค่อยให้ความร่วมมือในด้านการจัดกิจกรรมภายในชุมชน ขาดความพร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อชุมชน ไม่ค่อยมีให้ความร่วมมือในการตัดสินใจการจัดการน้ำของชุมชนและประชาชนส่วนใหญ่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม และจากการเป็นชุมชนใหญ่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ ทำให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ไม่สามารถทำสวน ไร่ นา ได้ดังเดิม เกิดภาวะขยะล้นแม่น้ำ ก่อให้เกิดเป็นน้ำเสียจากที่ทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง ขาดการส่งเสริมในการอนุรักษ์ดูแลสิ่งแวดล้อม มีแต่นโยบาย แต่ไม่มีการดำเนินการ แม่น้ำลำคลองในชุมชนมีผักตบชวาและขยะปนเปื้อน และแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการหลายๆ ช่องทาง เช่นวิทยุชุมชน จุลสารเป็นต้น จัดตั้งกลุ่มย่อย มีประธานกลุ่มแต่ละกลุ่มประชุมกลุ่มย่อย และจัดประชุมในวันเวลาที่เหมาะสม มีการจัดกิจกรรมปลูกฝังสร้างจิตสำนึกแก่เด็กและเยาวชน เช่นการเก็บขยะในแม่น้ำลำคลองเป็นต้น
เพื่อสร้างความรู้สึกในการรักษาแม่น้ำลำคลองให้มีคุณภาพที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึง
และจะเกิดการร่วมมือช่วยเหลือกันในชุมชนโดยอัตโนมัติ และชุมชนควรมีความร่วมมือในการสำรวจและตรวจสอบคุณภาพน้ำ เช่น กลิ่นและสีของน้ำ การตั้งเครื่องดักไข่มัน ตั้งเครื่องปั้นน้ำ เป็นต้น
และภาครัฐได้เข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ แก้ไขน้ำเน่าเสีย เพื่อให้ได้คุณภาพน้ำที่ดีกลับคืนมาและนำไปใช้เป็นประโยชน์แก่ชุมชนได้

 

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕