หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ณัชชา ณัฐโชติภคิน
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๓ ครั้ง
กระบวนการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ณัชชา ณัฐโชติภคิน ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๕/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อนุวัต กระสังข์
  เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ๒. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของสมาชิกกับกระบวนการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ๓. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อกระบวนการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

การวิจัยเป็นแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน ๑๘๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๖๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๒ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑. การสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนของตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = ๓.๖๕) โดยมีแหล่งวัตถุดิบที่ได้มาจากในท้องถิ่น มีการจัดประชุมร่วมกันทุกเดือนภายในกลุ่มของแต่ละกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า การมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการตัดสินใจ (  = ๓.๗๗) ด้านการปฏิบัติการ (  = ๓.๗๒) ด้านการรับผลประโยชน์ (  = ๓.๗๐) ด้านการประเมินผล (  = ๓.๗๓) และ กระบวนการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบลไร่ขิง พบว่าด้านการก่อรูปเครือข่าย (  =๓.๕๓) และด้านการจัดระบบบริหารเครือข่าย (  = ๓.๕๑) อยู่ในระดับมาก ด้านการใช้ประโยชน์เครือข่าย (  = ๓.๓๘) ด้านการธำรงรักษาเครือข่าย (  = ๓.๔๕) อยู่ในระดับปานกลาง

 

๒. การมีส่วนร่วมของสมาชิก มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกระบวนการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (R=.๘๖๕**) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับสูง คือ ด้านการธำรงรักษาเครือข่าย (r=.๗๘๙**) ด้านการก่อรูปเครือข่าย (r=.๗๓๔**) ด้านการจัดระบบบริหารเครือข่าย (r=.๖๗๑**) และด้านการใช้ประโยชน์เครือข่าย (r=.๕๕๐**) จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓. ปัญหา อุปสรรค กระบวนการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม คือ การสร้างกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเริ่มต้นจากการอนุรักษ์พื้นที่วัฒนธรรมท้องถิ่น รักษาภูมิปัญญาให้อยู่ได้นาน แต่ในปัจจุบันถูกมองเป็นการดำเนินการแบบธุรกิจ ทำให้ปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มเกิดการขัดแย้งกัน อีกทั้งยังขาดการผลักดันในการสร้างคนรุ่นใหม่ สมาชิกยังขาดองค์ความรู้ในการดำเนินการ ไม่มีแหล่งเงินทุนเพื่อมาสนับสนุน สถานที่การดำเนินงานเป็นพื้นที่เอกชนทำให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการ และยังมีการเปลี่ยนผังเมืองจากที่ดินประเภทการเกษตรเป็นที่ดินประเภทพาณิชยกรรมทำให้เกิดมลพิษ สภาพภูมิอากาศปัจจุบันแปรปรวนส่งผลให้การติดผลผลิตน้อยลง ตลอดจนขาดการยกระดับผลิตภัณฑ์เดิมของชุมชน เพื่อพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ทำให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์ชุมชนลดลง และข้อเสนอแนะการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบล ไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม คือ สำนักงานเกษตรอำเภอสามพรานเป็นหน่วยงานสนับสนุนเครื่องมือและงบประมาณตามความต้องการ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ทางด้านผลประโยชน์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สนับสนุนสิ่งที่จะมาส่งเสริมการผลิตสินค้า หางบประมาณจากกลุ่มเครือข่ายภาครัฐ หาแหล่งเงินทุน หรือหาพันธุ์พืชใหม่ๆ มาปลูก ส่งเสริมให้ศึกษาดูงาน อบรมความรู้เกี่ยวกับกลุ่มวิสาหกิจ และช่วยดึงอุตสาหกรรมเข้ามาเพื่อรองรับสินค้าเกษตร ผลักดันให้เกิด MOU กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ร่วมกันทำการวิจัย ระดมความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดการต่อยอดผลิตภัณฑ์ ประชาชนร่วมมือกันโดยการที่ภาครัฐเป็นคนให้ข้อมูลสนับสนุน พัฒนาการผลิตให้ทันกับภายนอก ให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมในการเรียนรู้ เกิดความรักในท้องถิ่น ตลอดจนส่งเสริมให้เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าของชุมชน

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕