หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ณัฐญา พลเสน
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
รูปแบบการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธบริหารการศึกษา ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : ณัฐญา พลเสน ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๕/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อินถา ศิริวรรณ
  ระวิง เรืองสังข์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๗ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสภาพปัญหาทักษะการดำเนินชีวิตตามหลัก
พุทธบริหารการศึกษาของนักเรียนในสถานศึกษา ๒) พัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธบริหารการศึกษาของนักเรียนในสถานศึกษา และ ๓) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธบริหารการศึกษาของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน ๕ คน การสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๙ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน ๔๐๐ คน ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน ๓๔๕ คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเอกสารการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ทางสถิติ คือ หาค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีค่าความต้องการจำเป็น

ผลการวิจัย พบว่า :

๑. สภาพปัญหาทักษะการดำเนินชีวิตของนักเรียน ที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิต โดยภาพรวมพบว่า ด้านที่มีความสำคัญของความต้องการจำเป็นลำดับ
ที่ ๑ คือ ด้านกายสุจริต ลำดับที่ ๒ คือ ด้านมโนสุจริต และลำดับที่ ๓ คือ ด้านวจีสุจริต เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธบริหารการศึกษา ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ด้านกายสุจริต ทักษะทางสังคม คือ นักเรียนสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ทักษะการประกอบอาชีพ คือ นักเรียนเห็นความสำคัญของการไปทำงานและการตรงต่อเวลา ด้านวจีสุจริต ทักษะการสื่อสาร คือ นักเรียนรู้จักรับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ ทักษะด้านวัฒนธรรมที่ต่างกัน คือ นักเรียนมีความรู้สึกปิติ ยินดีในวัฒนธรรมของตนเอง ด้านมโนสุจริต ทักษะด้านความคิด คือ นักเรียนสามารถคิดที่จะเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา เพื่อค้นหาทางเลือกรวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละทางเลือก ทักษะด้านจิตใจ คือ นักเรียนสามารถเข้าใจความเหมือน หรือความแตกต่างระหว่างบุคคล ทักษะด้านอารมณ์ คือ นักเรียนรู้วิธีจัดการกับอารมณ์ที่ส่งผลในทางลบ

๒. การพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธบริหารการศึกษาของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย ๕ ส่วน คือ
๑. หลักการ ๒. วัตถุประสงค์ ๓. กระบวนการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย ๑) องค์ประกอบของทักษะการดำเนินชีวิต ๒) ขั้นตอนการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิต ๓) หลักธรรมในการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิต ๔) โครงการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิต ๔. การนำรูปแบบไปใช้ และ ๕. เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ

๓. ผลการตรวจสอบ และนำเสนอรูปแบบการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธบริหารการศึกษาของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ดำเนินการตรวจสอบรูปแบบทั้ง ๔ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความถูกต้อง และ
ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ ตามลำดับ

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕