หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูประโชติกิจจาภรณ์ (สุริยัญ สุริยวํโส)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๒ ครั้ง
รูปแบบการสร้างความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วมของนักเรียน โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูประโชติกิจจาภรณ์ (สุริยัญ สุริยวํโส) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๕/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สมศักดิ์ บุญปู่
  อุทัย สติมั่น
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง รูปแบบการสร้างความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วมของนักเรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา  มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการพัฒนา
ด้านความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วมของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ๒)  เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วมของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา และ ๓) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วมของนักเรียนในโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม(
Mixed Methodology) โดยขั้นตอนแรกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative  Research) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการสร้างความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วมของนักเรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา โดยการสัมภาษณ์ จำนวน ๗ รูป/คน และการสร้างรูปแบบการสร้างความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วมของนักเรียนโรงเรียนการกุศลของวัด
ในพระพุทธศาสนาโดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๑๒ รูป/คน และการวิจัยเชิงปริมาณ (
Quantitative Research) เพื่อประเมินรูปแบบการสร้างความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วมของนักเรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา และโดยการรูปแบบที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพมาปรับเป็นแบบประเมินพิจารณาความเหมาะสมของรูปแบบโดยกลุ่มปฏิบัติจริงคือบุคลากรในโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ภาคใต้ ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน  ๒๖๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม  และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยข้อมูลเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

๑. หลักการพัฒนาด้านความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วมของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา นั้น  สำหรับกลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ภาคใต้ จะเห็นได้ชัดว่าทุกโรงเรียนมุ่งเน้นพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน เหมือนกัน เพราะมีแนวนโยบายของความเป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาที่ต้องเน้นคุณธรรมจริยธรรมอยู่แล้ว  ส่วนคุณธรรมคือ  ความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วมนั้น สำหรับกลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ภาคใต้  เบื้องต้นนักเรียนมีหน้าที่และความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วมที่จะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ คือ (ก) ความรับผิดชอบต่อชุมชน (ข) ความรับผิดชอบต่อบิดามารดา (ค) ความรับผิดชอบต่อครู อาจารย์ และโรงเรียน (ฆ) ความรับผิดชอบต่อเพื่อน

ความรับผิดชอบจึงนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็กๆ โดยจะต้องเน้นให้เด็กตระหนักรู้ถึงคุณค่าของความรับผิดชอบ ความสำคัญของความรับผิดชอบ และ
มีความตั้งใจที่จะปฏิบัติความรับผิดชอบด้วยความเต็มใจและตั้งใจ

๒. ผลการร่างรูปแบบการสร้างความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วมของนักเรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา  ประกอบด้วย ๘ ส่วนประกอบคือ ๑) ชื่อรูปแบบ  ๒) หลักการ  ๓) วัตถุประสงค์  ๔) องค์ประกอบ  ๕) วิธีการสร้างความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วม  ๖) สิ่งสนับสนุน ๗) การวัดประเมินผล  และ ๘) เงื่อนไขสำคัญการนำรูปแบบไปใช้ 

๓. ผลการประเมินรูปแบบการสร้างความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วมของนักเรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา รูปแบบการสร้างความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วมของนักเรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในครั้งนี้ ได้องค์ความรู้คือ  รูปแบบการสร้างความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วม  ซึ่งต้องนักเรียนให้ประกอบด้วยคุณลักษณะที่สำคัญ ๕  ประการได้แก่ ๑) ความรักผูกพันต่อองค์กร  ๒) ความมีจิตสาธารณะ ๓) ความมีภาวะผู้นำเยาวชน ๔) ความรับผิดชอบ ๕) การทำงานเป็นทีม ซึ่งในการสร้างดังกล่าวต้องกิจกรรมการสร้างความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วม  ๓ ประการคือ  ๑) หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการสร้างคุณลักษณะแต่ละอย่างต้องมีหลักธรรมมาใช้ในการกำกับแตกต่างกันไป คือ (๑) ความรักผูกพันต่อองค์กร ใช้หลักธรรม กตัญญูกตเวที   (๒) ความมีจิตสาธารณะ ใช้หลักธรรม สังคหวัตถุ” (๓) ความมีภาวะผู้นำเยาวชน 
ใช้หลักธรรม
สัปปุริสธรรม” (๔) ความรับผิดชอบใช้หลักธรรม  ทิศ ๖” (๕) การทำงานเป็นทีม
ใช้หลักธรรม
พละ ๔๒) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีแนวทางคือ (๑) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน (๒) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด (๓) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง (๔) จัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานสาระความรู้
ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน (๕) ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
(๖) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่  และ ๓) กิจกรรมเสริมหลักสูตร
มีแนวทางคือ (๑) กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมความรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วม (๒) กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาความสนใจและความสามารถพิเศษ (๓) กิจกรรมที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์องค์กรของโรงเรียน
(๔) กิจกรรมที่พัฒนาทางด้านจิตใจและศีลธรรม (๕) กิจกรรมทางสังคมและนันทนาการ (๖) กิจกรรมทางด้านกีฬา

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕