หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาวิจัก กิตฺติวณฺโณ (ชนะพจน์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๒ ครั้ง
รูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรม ตามหลักพุทธวิธีการสอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาวิจัก กิตฺติวณฺโณ (ชนะพจน์) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๕/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อินถา ศิริวรรณ
  อำนาจ บัวศิริ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรม        ๒) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรมตามหลักพุทธวิธีการสอน       ๓) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรมตามหลักพุทธวิธีการสอน
ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๒๔๘ รูป สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ คน สนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ รูป/คน

ผลการวิจัย พบว่า :

สภาพทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันตก โดยภาพรวมพระสอนศีลธรรมมีทักษะอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ทักษะการใช้วาจากิริยาท่าทาง  ทักษะการอธิบาย ทักษะการสรุปบทเรียน ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน ทักษะการใช้อุปกรณ์การสอน ทักษะการใช้กระดานดำ ทักษะการใช้คำถามทักษะการเสริมกำลังใจผู้เรียน และทักษะการเร้าความสนใจในการสอน

การพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรมตามหลักพุทธวิธีการสอนมีองค์ประกอบที่นำมาใช้ในการพัฒนา ๔ ประการ คือ ๑) สภาพทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ๒) วิธีการพัฒนาทักษะการสอนด้วยการฝึกอบรม ๓) หลักการสอนด้วยวิธีการสอนตามทักษะการสอน ๙ ประการ ๔) หลักการสอนของพระพุทธเจ้า ๔ ประการ โดยใช้กระบวนการพัฒนารูปแบบจากองค์ประกอบของรูปแบบที่ผู้วิจัยได้สังเคราะห์

รูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรมตามหลักพุทธวิธีการสอน
ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ ส่วนนำ มีประเด็น คือ ๑) สภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรม ๒) หลักการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรม ๓) วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนของ
พระสอนศีลธรรม ส่วนที่ ๒ ตัวแบบ ประกอบด้วย ๑) ทักษะการสอน ๙ ประการ ๒) การฝึกอบรมพัฒนาทักษะ ส่วนที่ ๓ ขั้นตอนการนำไปใช้ คือ ๑) โดยการพัฒนาทักษะการสอน ๒) การจัดการฝึกอบรม พัฒนา ๓) การประเมินผลการฝึกอบรม ๔) เงื่อนไขการจัดฝึกอบรมพัฒนาทักษะ โดยการตรวจสอบรูปแบบ พบว่า มีความถูกต้องตามกระบวนการพัฒนารูปแบบ มีความเหมาะสม และ
มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้พัฒนาทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรม

ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความถูกต้อง และด้านความเหมาะสม ตามลำดับ

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕