หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวรศานต์ วรธมฺโม (วัฒนวงศ์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๕ ครั้ง
การศึกษาแนวทางบูรณาการหลักธรรมที่ปรากฏในประเพณี บุญบั้งไฟกับหลักสูตรท้องถิ่นในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี (สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระวรศานต์ วรธมฺโม (วัฒนวงศ์) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วิทยา ทองดี
  ประยูร แสงใส
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑)เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในประเพณีบุญบั้งไฟของชาวอีสาน ๒)เพื่อศึกษาแนวทางการบูรณาการประเพณีบุญบั้งไฟเข้ากับหลักสูตรท้องถิ่นในสถานศึกษา กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑  ของโรงเรียนมัธยมเทศบาล  ๖ นครอุดรธานี ๓)เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้การบูรณาการประเพณีบุญบั้งไฟเข้ากับหลักสูตรท้องถิ่นในสถานศึกษา กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑  ของโรงเรียนมัธยมเทศบาล  ๖  นครอุดรธานี  ประชากร ได้แก่  นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔  โรงเรียนมัธยมเทศบาล  ๖  นครอุดรธานี  จำนวน ๒๓๕  คน  กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาระดับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔  โรงเรียนมัธยมเทศบาล  ๖  นครอุดรธานี  ที่ผู้วิจัยได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม  สุ่มได้ห้อง มัธยมศึกษาปีที่ ๔/๓ จำนวน ๔๐ คน  เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการบูรณาการประเพณีบุญบั้งไฟ : หลักธรรมและประเพณีที่มีต่อผู้เรียน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบทดสอบและแบบสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย(  ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D ) วิเคราะห์แบบสัมภาษณ์โดยเชิงพรรณนาวิธี

 

 

 

 

              ผลการวิจัยพบว่า

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในประเพณีบุญบั้งไฟของชาวอีสาน ได้แก่ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย (๑) ความกตัญญูกตเวที ,  (๒) ความสามัคคี,  ( ๓ ) สังคหวัตถุ ๔ ได้แก่  ทาน การให้  ปิยวาจา เจรจาชอบ  อัตถจริยา บำเพ็ญประโยชน์  สมานัตตตา  วางตนสม่ำเสมอ, ( ๔ ) อิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ  วิริยะ  จิตต  วิมังสา , ( ๕ ) สมาธิ , ( ๖ ) บุญกิริยาวัตถุ ๓ คือ ทาน  ศีล  ภาวนา  และ( ๗ ) ความมีจิตอาสา

แนวทางการบูรณาการประเพณีบุญบั้งไฟเข้ากับหลักสูตรท้องถิ่นในสถานศึกษา กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑  ของโรงเรียนมัธยมเทศบาล  ๖  นครอุดรธานี โดยการ นำประเพณีบุญบั้งไฟ มาจัดทำเป็นหน่วยเรียนรู้ ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม ๑ หน่วยการเรียน ในระดับชั้นมัธยมตอนต้นหรือตอนปลาย จัดให้เป็นหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง ประเพณีบุญบั้งไฟ :  หลักธรรมที่ปรากฏในประเพณี โดยแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรและคณะกรรมการยวิพากษ์หลักสูตร ประเมินผลก่อนนำไปใช้สอนในโรงเรียน

ผลสัมฤทธิ์การบูรณาการประเพณีบุญบั้งไฟเข้ากับหลักสูตรท้องถิ่นในสถานศึกษา กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑  ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมเทศบาล  ๖  นครอุดรธานี คือ การทดสอบผู้เรียนจากเนื้อหาประเพณีบุญบั้งไฟ : หลักธรรมและประเพณี คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย = ๙.๔๕   ส่วนคะแนนหลังเรียนมีค่าค่าเฉลี่ย = ๑๔.๑๕   ซึ่งผลการจัดทดสอบหลังการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕