หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหากรีฑา กตปุญฺโญ
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๐ ครั้ง
ศึกษาขันธ์ ๕ ในคัมภีร์ขันธวิภังค์ (สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหากรีฑา กตปุญฺโญ ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุขสันติ์ สุขวฑฺฒโน
  สุเทพ พรมเลิศ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

      วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาในคัมภีร์ขันธวิภังค์ ๒) เพื่อศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาในคัมภีร์ขันธวารวรรค ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คำสอนเรื่องขันธ์ ๕ ในคัมภีร์ขันธวิภังค์และขันธวารวรรค โดยจากการศึกษาพบว่า

คัมภีร์ขันธวิภังค์ในอภิธรรมปิฎก พระพุทธองค์ทรงแสดงบนภพดาวดึงส์เป็นครั้งแรก ส่วนคัมภีร์ขันธวารวรรคนั้นปรากฏในสุตตันตปิฎก ความคล้ายคลึงเป็นการรวบรวมคำสอนสำคัญที่เป็นดั้งเดิมเกี่ยวกับขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สะท้อนให้เห็นองค์ประกอบชีวิต เป็นธรรมอันยิ่ง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวเรา สิ่งที่ล้อมรอบตัวเรา และสิ่งที่เป็นแรงบันดาลให้เราค้นหา  สามารถพิจารณาเห็นได้ตามสภาวะธรรมารมณ์ได้

การอธิบายตามโครงสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับขันธ์ ๕ และหมวดธรรมที่เกี่ยวข้อง สรุปย่อลงในไตรสิกขาทั้งสิ้น คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งมีข้อแตกต่างกันเพียงการอธิบายปรมัตถธรรมในขันธวิภังค์โดยปฏิเสธบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง ตรงกันข้ามกับการอธิบายในขันธสังยุตที่พระพุทธองค์และพระอริย-สาวกแสดงเพื่ออนุโลมตามอัธยาศัยของบุคคล เพื่อให้เกิดความเข้าใจ คลายความสงสัยแล้วน้อมนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นสังสารวัฏ

ความหมายของคัมภีร์ทั้งสองมีส่วนที่คล้ายคลึงกัน แตกต่างกันเพียงการจำแนกส่วนธรรมที่เป็นสภาวะแห่งธรรมารมณ์ และประเภท เหตุปัจจัย ลักษณะความสัมพันธ์ก็เช่นเดียวกัน เพราะการอธิบายหลักธรรมเกี่ยวกับขันธ์ ๕ มีความสัมพันธ์กันกับหลักปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นตัวอธิบายเหตุปัจจัยทั้งหลายที่อิงอาศัยกัน ส่งเสริมให้นามและรูปเกิดขึ้นในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย การกำหนดพิจารณาเห็นลักษณะวงจรความเกิดและความดับคือฝ่ายเกิด แสดงให้เห็นว่าการเกิดขันธ์ ๕ เพราะผัสสะกระทบ ถูกปัจจัยปรุงแต่งจึงปรากฏ อวิชชา สังขารเป็นต้น เกิดขึ้นตามโอกาส ๑๑ ลักษณะ มีอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นต้น ส่วนที่เป็นฝ่ายดับ เกิดจากการพิจารณารู้ชัดเห็นความเป็นจริงตามสภาวะแล้วจึงละความยึดมั่น ความเพลิดเพลิน ความยินดีพอใจ และออกจากขันธ์ ๕ ได้ ทำความเห็นสัมมาทิฏฐิที่ถูกต้อง ในสิ่งที่เกิดขึ้นตามหลักความเป็นจริง คือ “ไตรลักษณ์”

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕