หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระนรินทร์ สีลเตโช (สาไชยันต์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๑ ครั้ง
การตีความแนวคิดเรื่องพรหมในพุทธปรัชญาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระนรินทร์ สีลเตโช (สาไชยันต์) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  จรัส ลีกา
  จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์(๑)เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องพรหมในพุทธปรัชญาเถรวาท (๒)เพื่อศึกษาการตีความ (๓) เพื่อวิเคราะห์การตีความแนวคิดเรื่องพรหมในพุทธปรัชญาเถรวาท ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยเก็บข้อมูลจากเอกสาร แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยวิธีพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี

ผลการวิจัยพบว่า

๑. แนวคิดเรื่องพรหมในพุทธปรัชญาเถรวาทแบ่งพรหมออกเป็น  ๒ ประเภท คือ (๑) พรหมในฐานะที่เป็นบุคลาธิษฐาน และ(๒) พรหมในฐานะที่เป็นธรรมาธิษฐาน

๒.การตีความแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ๑) การตีความทางศาสนาเป็นการตีความเฉพาะกลุ่ม และ ๒) การตีความแบบสากล โดยใช้ วิภัตติหาระในเนติปกรณ์และทฤษฎีการตีความเชิงรื้อโครงสร้างนิยมของเดอร์ริดา

๓.การวิเคราะห์การตีความแนวคิดเรื่องพรหมในพุทธปรัชญาเถรวาทโดยใช้การตีความแบบวิภัตติหาระในเนติปกรณ์ และการตีความเชิงการรื้อโครงสร้างนิยมของเดอร์ริดา พบว่า ๑) การตีความพรหมในฐานะเป็นบุคลาธิษฐานหมายถึงมนุษย์ที่ฝึกจิตด้วยสมถกรรมฐานจนได้ฌาน เมื่อละจากโลกนี้ไปในขณะที่ฌานไม่เสื่อมจะไปบังเกิดในพรหมโลกทั้ง ๒๐ ขั้นตามกำลังของฌานและ๒)การตีความพรหมฐานะเป็นธรรมาธิษฐานหมายถึงบุคคลที่ได้ปฏิบัติจนเข้าถึงความบริสุทธิ์ ๒ ระดับ คือ ๑) ความบริสุทธิ์ด้วยพรหมวิหารธรรม ๔ ได้แก่ มารดาบิดา และความบริสุทธิ์ด้วยฌาน ๔ ได้แก่พรหมในพรหมโลก ๒๐ ชั้น และ๒) ความบริสุทธิ์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก

 

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕