หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูวิสุทธิ์ธรรมานุวัตร (สมเกียรติ วิสุทฺโธ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๒ ครั้ง
รูปแบบการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมจังหวัดชลบุรี (สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูวิสุทธิ์ธรรมานุวัตร (สมเกียรติ วิสุทฺโธ) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๕/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระอุดมสิทธินายก
  พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม ๒. เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมของจังหวัดชลบุรี ๓. เพื่อเสนอรูปแบบการส่งเสริมการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมของจังหวัดชลบุรี การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research method) เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยว ข้องและจากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน ๓๒ รูป โดยสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จำนวน ๑๔ รูป/คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ

 

             ผลการวิจัย พบว่า

             ๑. สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับรูปแบบการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมจังหวัดชลบุรี พบว่า พระสังฆาธิการในทุกระดับชั้นให้ความร่วมมือในการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี มีกลไกในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ โน้มน้าวผู้เรียนให้เข้าถึงจุดมุ่ง  หมายของหลักสูตรอย่างแท้จริง ทำให้บุคลากรครูมีศักยภาพ มีความสามารถเชี่ยวชาญเฉพาะตัวและมีปริมาณอย่างเพียงพอต่อการเรียนการสอน เพราะอยู่ในปฏิรูปเทศมีความเจริญทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยมีกระบวนการเรียนการสอน ที่มีการจัดทำแผนการสอนตามแผนยุทธศาสตร์มี เทคนิควิธีที่สามารถสอนให้จูงใจ แจ่มแจ้ง แกล้วกล้า มีบุคลากรผลิตสื่อที่มีคุณภาพ แล้วนำสื่อไปปรับใช้เพื่อให้เกิดศักยภาพทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นยังมีน้อย และยังส่งผลให้คณะสงฆ์มีการวางแผนในการตรวจสอบ และการสอบวัดผลประจำปีที่เคร่งครัดในการกำกับดูแลให้สุจริต

             ๒. ศึกษาองค์ประกอบของการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม มีกระบวนการจัดการศึกษาประกอบการวิเคราะห์ SWOT ANALYSIS คือ (๑) จุดแข็ง ด้านหลักสูตร คือเนื้อหาครอบคลุมหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาและครอบคลุมหลักของพระธรรมวินัย เป็นแนวทางในการจัดการศึกษา จุดอ่อน ภาษาที่ใช้ในหนังสือเป็นภาษาที่เข้าใจยากสำหรับคนทั่วไป ขาดความยืดหยุ่นในการเสริมองค์ความรู้ที่เป็นศาสตร์สมัยใหม่จากกลุ่มสาระวิชาสามัญ โอกาส เป็นการจัดการศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณรที่เข้ามาบวชเรียนเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง และสามารถให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้จากหลักสูตรไปศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น อุปสรรค คือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เจริญขึ้นจึงทำให้กุลบุตรสนใจเข้ามาบวชน้อย การขาดอุปกรณ์สนับสนุนในการสอน (๒) จุดแข็ง ด้านครูผู้สอน เน้นเรื่องการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ จุดอ่อน ไม่มีหลักสูตรระสั้นสำหรับคนที่มีเวลาน้อย โอกาส ทำให้ลูกชาวบ้านโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียน อุปสรรค มีผู้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทลดลง (๓) จุดแข็ง ด้านกระบวนการเรียนการสอน เป็นวิชาการทางพระพุทธศาสนาที่ได้รับการยอมรับจากสังคมในประเทศและระดับนานาชาติ จุดอ่อน บุคลากรครูผู้สอนขาดทักษะการสอนทำความเข้าใจต่อนักเรียนได้น้อย โอกาส วัดมีโอกาสได้จัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาให้เผยแผ่ไปสู่ประชาชนมากยิ่งขึ้น อุปสรรค กุลบุตรเข้ามาบวชเริ่มน้อยลง (๔) จุดแข็ง ด้านสื่ออุปกรณ์การสอน สำนักเรียนสามารถบอกบุญกับผู้มีจิตศรัทธาได้ จุดอ่อน สำนักเรียนยังขาดผู้มีความสามารถในการผลิตสื่อการสอน โอกาส จะได้พัฒนาการทำสื่อให้น่าสนใจเหมาะแก่การเรียนการสอน อุปสรรค หาบุคลากรที่มีความสามารถผลิตสื่อประกอบการบรรยายที่หลากหลายได้น้อย (๕) จุดแข็ง ด้านการวัดผลและระเมินผล เพื่อจะได้ทราบพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน เพื่อนำไปปรับปรุงวิธีการเรียนการสอน จุดอ่อน คือการใช้เครื่องมือที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่นการออกข้อสอบยากง่ายต่างกัน โอกาส เป็นการประเมินผลให้มีมาตรฐานในการปรับปรุงการเรียนการสอนและการสอบให้สมดุลมากขึ้น อุปสรรค ครูผู้สอนขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนการสอนจึงทำให้การสอนไม่เต็มก็จะทำให้การวัดผลประเมินผลไม่เที่ยงตรง

             ๓. รูปแบบการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมจังหวัดชลบุรี พบว่า (๑) ด้านหลักสูตร การจัดเนื้อหาวิชาให้ร่วมสมัยมากขึ้นและให้สอดคล้องกับปัจจุบัน ปรับปรุงเนื้อหาให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย (๒) ด้านครูผู้สอน ส่งเสริมให้ผู้สอนอบรมวิชาครูเพื่อพัฒนาเทคนิควิธีการสอน สร้างขวัญกำใจแก่ครูผู้สอน ส่งเสริมให้บรรจุเป็นครูประจำชั้น สร้างแรงจูงใจด้วยการจัดนิตยภัตถวาย (๓) กระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนต้องยึดหลักการพื้นฐานเดียวกันทั้งระบบ เน้นขบวนการเรียนรู้ตั้งคำถามเพื่อแก้ปัญหา สอนหลักการแบบให้คิดวิเคราะห์เป็นด้วยเหตุผล (๔) สื่ออุปกรณ์การสอน ปรับปรุงตำราให้ทันสมัยเป็นมาตรฐานเดียวกัน ส่งเสริมการผลิตสื่ออุปกรณ์การสอนที่ทันสมัยมีความหลากหลายการใช้สื่อสมัยใหม่แบบออนไลน์ เช่น E-leaning เป็นต้น มาเสริมการสอนให้เหมาะสม (๕) วัดผลและประเมินผล ควรปรับเกณฑ์การวัดผลโดยเน้นความเข้าใจและการประยุกต์ใช้ ควรจัดให้มีการวัดผลทุก ๖ เดือนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอน เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนครอบคลุมทุกด้าน

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕