หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » Handing Ma
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๘ ครั้ง
ศึกษาความพึงพอใจของชาวจีนต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อผู้วิจัย : Handing Ma ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระบุญทรง ปุญฺญธโร
  เทพประวิณ จันทร์แรง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อสภาพปัจจุบันในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน วัดร่ำเปิง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๒) เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานของชาวจีนวัดร่ำเปิง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ       ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนจีนต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน    วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยแบบสอบถามประเมินค่า ๕ ระดับผลการศึกษาวิจัย มีดังนี้ 

สภาพปัจจุบันในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน วัดร่ำเปิง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ปฏิบัติธรรมชาวจีนแผ่นดินใหญ่ให้ความสนใจในปฏิบัติธรรมมากเพิ่ม เนื่องมาจากสภาพการดำเนินชีวิตในปัจจุบันต้องใช้สมาธิในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จทั้งหน้าที่และการงาน กลุ่มตัวอย่างชาวจีนที่เข้ารับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานวัดร่ำเปิงส่วนใหญ่ การขาดสมาธิเป็นสาเหตุของการมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จำนวน ๑๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๑. รองลงมา คือ มีปัญหาด้านครอบครัวจำนวน ๕๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๘.และ มีปัญหาการทำงาน จำนวน ๔๗ คน       คิดเป็นร้อยละ ๑๖.  ตามลำดับ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน วัดร่ำเปิง เป็นการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน  เวทนานุปัสสนา    สติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นำมาวิเคราะห์ตั้งแต่การกราบ   สติปัฏฐาน การยืน การเดินจงกรม การนั่งสมาธิ การนอนสมาธิ และอิริยาบถย่อย จนถึงการเข้าส่งอารมณ์ ความพึงพอใจของประชาชนจีนต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน        วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างชาวจีนที่เข้ารับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ วัดร่ำเปิง  ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า       ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  มีจำนวนเพียง ๑๖๘  คน  หรือร้อยละ  ๖๐.  ส่วนเพศหญิง  มีจำนวน ๑๑๒  คน คิดเป็นร้อยละ  ๔๐.๐ มีความพึงพอใจระดับมากทุกรายการ คือ ด้านเอกสาร ( = ๔.๑๐) รองลงมา คือ ด้านบุคลากร (พระวิปัสสนาจารย์) ( = ๔.๐๙)  และด้านประชาสัมพันธ์ ( =.๐๘)และได้รับผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่โดยภาพรวมในระดับมากทุกรายการ คือ ด้านสุขภาพกาย ( = ๔.๐๗) รองลงมา คือ ด้านสุขภาพเวทนา ( = ๔.๐๓)  และด้านสุขภาพจิต ( =.๐๓)

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕