หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสังฆรักษ์พิทยา ญาณธโร (ปิยวรากุล)
 
เข้าชม : ๒๐๐๙๓ ครั้ง
ศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคดิจิทัล
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสังฆรักษ์พิทยา ญาณธโร (ปิยวรากุล) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสิริสุตานุยต
  พระอธิการสมนึก จรโณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์เรื่องการศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคดิจิทัล เป็นวิจัยเชิงเอกสารโดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ () เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางสังคมในยุคดิจิทัล () เพื่อศึกษาผลกระทบยุคดิจิทัลที่มีต่อพระพุทธศาสนา () เพื่อเสนอแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เหมาะสมกับสังคมยุคดิจิทัล โดยการศึกษาจากเอกสารแล้วนำมาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า หลักการเกี่ยวกับเนื้อหาในการเผยแผ่มี ๗ ประการ (๑) สอนจากรูปธรรม ไปหานามธรรม (๒) สอนลุ่มลึกลงตามลำดับ (๓) สอนด้วยอุปกรณ์เสริม (๔) สอนตรงจุด (๕) สอนตามพอดีเท่าที่จำเป็น (๖) สอนมีเหตุมีผล (๗) สอนสิ่งที่มีความหมายเป็นหลักที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกนำมาใช้ในการเผยแผ่ในสมัยพุทธกาล จนทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในประเทศอินเดีย จนขยายพระพุทธศาสนาจนถึงปัจจุบัน

 

สภาพแวดล้อมทางสังคมพระสงฆ์ในยุคดิจิทัล องค์กรสงฆ์จึงควรจะต้องมีพระสงฆ์ที่ศึกษาและพัฒนาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้น จะได้นำไปเผยแผ่ให้กับคนรุ่นใหม่ได้ เพราะพูดภาษาเดียวกัน หากไม่เดินทางไปด้วยกายก็สามารถอาศัยความเจริญทางเทคโนโลยีเผยแผ่ธรรมผ่าน อินเทอร์เน็ตหรือช่องทางอื่น ๆ การจะวิเคราะห์ว่าพระสงฆ์ไทยมีความจำเป็นกับการใช้ ICT หรือไม่     จำต้องพิจารณาหน้าที่และบทบาทของพระสงฆ์ไทยในมุมมองของพุทธบริษัท ๔ ที่ประกอบด้วยภิกษุ      ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา โดยนำหลักมหาปรินิพพานสูตร มีอยู่ ๔ ประการ ดังนี้ (๑) การศึกษา    พระธรรม (๒) การนำความรู้นั้นไปประพฤติปฏิบัติ (เพื่อประโยชน์ตน) (๓) การเผยแผ่พระศาสนา เพื่อผู้อื่นเข้าใจและนำไปประพฤติปฏิบัติ (เพื่อประโยชน์ท่าน) (๔) การปกป้องพระศาสนา เมื่อมีผู้กล่าวให้คลาดเคลื่อน หรือจ้วงจาบพระธรรมวินัย

 

ผลกระทบยุคดิจิทัลที่มีต่อพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน การสื่อสารมีการพัฒนาไปถึงระดับเครือข่ายทั่วโลก (Internet) การส่งข้อมูลไปทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน แต่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาต้องอาศัยสื่อทางสารสนเทศโดยเฉพาะทางเอกสาร หนังสือต่าง ๆ ยังจำเป็นต้องใช้เป็นหลัก เพราะให้ประโยชน์แบบประโยชน์สูง ประหยัดสุด และต้องรู้ธรรม ๆ นั้น เพื่อจะต้องเป็นผู้ส่งสารต้องมีคุณสมบัติ คือ รู้จริง รู้จักกาลเทศะ หรือบริบทในแต่ละพื้นที่ ในการที่จะสื่อสารออกไปหาผู้รับสาร และยังมีวัตถุประสงค์ในการสื่อสารที่เป็นในทางก่อประโยชน์แก่ผู้รับสารในสังคมนั้นด้วย และต้องมีความรับผิดชอบในการสื่อสารของตน ดังนั้น แนวทางการปฏิบัติของผู้ส่งสารจึงต้องนำเสนอเนื้อหาสารที่ดี และทำให้ชีวิตดีขึ้น มีความสุข นำไปสู่การแก้ปัญหา และเป็นประโยชน์ไม่ก่อให้เกิดโทษต่าง ๆ     ส่วนแนวทางผู้ปฏิบัติในการส่งสาร คือทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรแก่ผู้รับสาร ผู้ส่งสารจึงจำเป็นต้องมีการปฏิบัติชอบฝึกฝนตนเองตามแนวหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา รวมถึงต้องมีมนสิการโดยแยบคาย ในการพิจารณาว่าสิ่งใดควรทำการสื่อสารอย่างไร

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อพุทธศาสนา กระแสจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น มีผลกระทบทั้งต่อพุทธศาสนาและสังคมโลก โดยรวมอันสืบเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่ระมัดระวังย่อมเกิดผลดังต่อไปนี้ (๑) ผลกระทบพระพุทธศาสนาด้านบวก คือ (๑.๑) ผลกระทบต่อการศึกษาพระสงฆ์ไทย ในการมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนบาลีและสามัญดีขึ้น (๑.๒) ผลต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปได้ทั้งในและต่างประเทศในช่องทางสื่อดิจิทัล (๑.๓) ผลทำให้เยาวชนได้ศึกษาพระพุทธศาสนาในระบบสื่อแบบมัลติมิเดียได้มากขึ้น (๑.๔) ผลต่อการแจ้งข่าวสารคณะสงฆ์ได้เร็วขึ้นในช่องทางดิจิทัล เพื่อประหยัดเวลาต่าง ๆ  (๒) ผลกระทบพระพุทธศาสนาด้านลบ (๒.๑) ผลกระทบต่อการใช้งานที่ไม่ควรของพระสงฆ์และสามเณรในการแชร์ภาพ การโพสต์ภาพที่ไม่ดี เป็นผลให้เกิดความเสื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนา (๒.๒) ผลกระทบเรื่องพระสงฆ์ไม่ได้รู้จักการแบ่งเวลาในการกำจัดกิเลส และการทำกิจวัตรของสงฆ์ (๒.๓) เกิดผลกระทบการรักษาพระธรรมวินัย   เช่นพระสงฆ์และสามเณรใช้สื่อโซเซียลในด้านที่เป็นภัยต่อเพศสมณะ คือการสนทนากับสตรีในเรื่องที่ไม่เหมาะสมต่อพระธรรมวินัย

แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เหมาะสมกับสังคมยุคดิจิทัล (๑) เผยแผ่พระพุทธศาสนาในช่องทางสื่อโซเชียลต่าง ๆ เช่น สังคมในเฟสบุ๊ค (Facebook) ,ไลน์ (Line), ยูทูป (Youtube)  และเว็ปไซต์ (www.) โดยใช้เป็นทำภาพนิ่ง หรือเป็นสื่อวิดีโอสั้น ไลท์สด (Live) เป็นกิจกรรมที่วัดนั้น ๆ ได้จัดงาน เช่น งานบรรพชาสามเณร งานอุปสมบท งานวันมาฆบูชา งานวันวิสาขบูชา งานสวดมนต์ข้ามปี โดยสอดแทรกหัวข้อธรรมนั้น ๆ และขยายใจความในห้องข้อธรรมให้เข้าใจง่าย โดยใช้ภาษาในการสื่อสารแบบสมสมัย และเปิดช่องทางให้มีการถามตอบทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ทางด้านแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสาที่เหมาะสมกับสังคมดิจิทัลของพระสงฆ์ไทยผ่านทางช่องทางเฟสบุ๊ค (Facebook) ยูทูป (Youtube) เว๊ปไซต์ (Website) ใช้การอัพโหลดรูปภาพ วีดิโอ และการตอบปัญหา เป็นไปในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย เช่น การปาฐกถา การบรรยาย  การสัมมนา การสัมภาษณ์ ฯลฯ แล้วนำเสนอพุทธธรรมด้วยการอัพโหลดวีดิโอตามช่องทางสื่อสารต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ฟังจะได้รับฟังธรรมผ่านช่องทางดิจิทัล เพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับบุคคลที่ไม่มีเวลาในการเข้าวัด ฟังธรรม เพื่อเป็นข้อคิดธรรมะสะกิดใจ หรือปลุกให้ตื่นเพื่อจะได้ละเว้นจากการทำความชั่ว หรือได้กับมาประพฤติปฏิบัติธรรม เป็นต้น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕