หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวิสิทธิ์ จนฺทปญฺโญ
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๐ ครั้ง
การศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักพุทธธรรมของตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อผู้วิจัย : พระวิสิทธิ์ จนฺทปญฺโญ ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  บรรพต แคไธสง
  ภัฏชวัชร์ สุขเสน
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

              วิทยานิพนธ์ เรื่อง ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักพุทธธรรมของตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) ศึกษาการอนุรักษ์ป่าชุมชนของตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์  (๒) ศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการอนุรักป่าชุมชน (๓) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักพุทธธรรมของตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์  จังหวัดบุรีรัมย์  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการสัมภาษณ์ประชากรกลุ่มตัวอย่างในตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน ๓๐ รูป/คน

                 ผลการวิจัยพบว่า

                 จากผลการดำเนินการวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักพุทธธรรมของตำบลนาโพธิ์  อำเภอนาโพธิ์  จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถเข้าใจในประเด็นปัญหาได้ ดังนี้ (๑) กฎไตรลักษณ์ คือทุกสภาวะมีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา พื้นที่ป่าชุมชนก็มีลักษณะเช่นนั้น จากสภาพเมื่อก่อนพื้นที่ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ (๒) ความเจริญเข้ามา ชุมชนมีการขยายตัว และได้รับวัฒนธรรมตลอดจนสื่อสารต่างๆ ทำให้พื้นที่มีการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยหลักๆ คือเศรษฐกิจความเป็นอยู่ในชุมชนนั่นเอง เพื่อความอยู่รอดชาวบ้านได้ขยายอาณาเขตกว้างขึ้น (๓) พระสงฆ์ตระหนักถึงสภาวการณ์ที่เกิดขึ้น กล่าวคือมีความเข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลง ได้จัดการเพื่อยุติปัญหา และชี้ให้เห็นว่ามนุษย์กับสิ่งมีชีวิตมีความเกี่ยวโยงกันจะขาดระบบใดระบบหนึ่งไม่ได้

                 หลักพุทธธรรมของชุมชนที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้คือธรรมนิยามเป็นนิยาม ๕ รูปแบบใหม่ ดังนี้ ๑) อุตุนิยาม คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ฝ่ายวัตถุ ๒) พีชนิยาม คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์หรือที่เรียกว่าพันธุกรรม ๓) จิตนิยาม คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการทำงานของจิต ๔)กรรมนิยาม กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการกระทำ หรือ กฎแห่งกรรม ๕) ธรรมนิยาม กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับสัจธรรมสูงสุด เช่น ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท

                 แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการใช้ต่อป่าในชุมชนตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ คือการมีความรู้สภาพปัญหาด้านการทำลายป่าไม้เขาศาลา  แนวทางการการอนุรักษ์รักษ์ป่าไม้ ๕ ด้าน คือ (๑) พระสงฆ์ควรศึกษาพระวินัยให้เข้าใจถึงพุทธประสงค์อย่างแท้จริง (๒) พระสงฆ์ควรจัดทำแผนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (๓) พระสงฆ์ควรจัดให้มีการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่า (๔) พระสงฆ์ควรประยุกต์หลักพระวินัยเพื่อการอนุรักษ์ (๕) รัฐบาลควรเอาใจใส่ดูแลอำนวยความสะดวกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕