หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระยงยุทธ ภทฺทาจาโร (สุบินนาม)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง
พุทธวิธีการบริหารจัดการทรัพย์สินในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระยงยุทธ ภทฺทาจาโร (สุบินนาม) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ภัฏชวัชร์ สุขเสน
  พระครูวินัยธรอำนาจ พลปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “พุทธวิธีการบริหารจัดการทรัพย์สินในพระพุทธศาสนาเถรวาท”      มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการทรัพย์สินในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการทรัพย์สินของพุทธศาสนิกชน และ ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธวิธีการบริหารจัดการทรัพย์สินในพระพุทธศาสนาเถรวาท

             ผลการวิจัยพบว่า

          การบริหารจัดการทรัพย์สินในทางพระพุทธศาสนามีความสำคัญในการดำรงชีวิต       ชาวพุทธควรที่จะต้องมีการแสวงหาทรัพย์สินด้วยความขยันหมั่นเพียร ครั้นได้ทรัพย์สินมาแล้วก็เก็บรักษาไม่ให้เสื่อมสูญหายไป ควรเลือกคบมิตรที่ดีมีศีลธรรม และควรมีการบริหารจัดการ ใช้จ่ายทรัพย์สิน เพื่อประกอบการงานที่ถูกต้องชอบธรรม  เพื่อเลี้ยงตนเองให้เป็นสุขพอดี รวมทั้งเลี้ยงบำรุงบิดา มารดา บุตร ภรรยา มิตรสหายให้เป็นสุขด้วย รวมทั้งไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขทุกชนิด เพื่อนำไปสู่จุดหมายของชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้นไป

             สำหรับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์สินของชาวพุทธทั่วไป คือ เรื่องเกี่ยวกับครอบครัว เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ทางการเมือง และอิทธิพลของโลกาภิวัฒน์ ทำให้ประชาชนเกิดความเกียจคร้านในการแสวงหาทรัพย์ การไม่รู้จักเก็บรักษาทรัพย์ การคบคนพาล และปัญหาการใช้จ่ายทรัพย์ฟุ่มเฟือย เป็นต้น เพราะเกี่ยวข้องกับอบายมุขซึ่งเป็นช่องทางแห่งความเสื่อม ความพินาศย่อยยับแห่งทรัพย์สิน และทำให้เกิดความเดือดร้อนทั้งแก่ตนเองและบุคคลรอบข้าง อีกทั้งจะไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมเลย

             ดังนั้นพุทธวิธีการบริหารจัดการทรัพย์สินในพระพุทธศาสนาเถรวาท คือการนำหลัก ทิฏฐธัมมิกัตถะ ๔ มาแก้ไขปัญหาชีวิตของพุทธศาสนิกชน คือ (๑) แก้ปัญหาการขาดความเพียรในการแสวงหาทรัพย์สิน ด้วยวิธีการรู้จักหาทรัพย์สินด้วยความสุจริตชอบธรรม (๒) แก้ปัญหาชีวิตการไม่รู้จักรักษาทรัพย์ คือการเก็บออมรักษาทรัพย์ที่หามาได้มาให้เสื่อมไป (๓) แก้ปัญหาชีวิตการคบคนพาลด้วยการมีกัลยาณมิตรที่ดี คือมีผู้แนะนำสั่งสอนที่ดี ซึ่งจะช่วยสนับสนุนชักจูงในการประกอบกิจการ   ที่ดี และ (๔) แก้ปัญหาชีวิตการใช้จ่ายทรัพย์เกินฐานะ คือ ใช้จ่ายทรัพย์สินในสิ่งที่จำเป็นสำหรับการครองชีพ เมื่อบุคคลปฏิบัติตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถะ ๔ ย่อมเกิดประโยชน์คือสิ่งที่รับอาจจะเป็นทรัพย์สิน เงิน ทอง สิ่งของ ชื่อเสียง เกียรติยศ การยกย่องสรรเสริญ หรือกล่าวอย่างง่าย ๆ คือ การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะได้มาซึ่งประโยชน์นั้น จะต้องมีการแสวงหาทรัพย์สินและใช้จ่ายทรัพย์สิน อย่างมีหลักการและมีแผนการ ซึ่งหลักการและแผนการนี้ เรียกว่า ธรรมที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ในปัจจุบัน

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕