หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ (สมพงศ์ ญาณธีโร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๐ ครั้ง
รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทูต สายอินเดีย-เนปาลตามหลักพุทธจิตวิทยา (สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ (สมพงศ์ ญาณธีโร) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  ลำพอง กลมกูล
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑)  เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล  ๒) เพื่อสร้างรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล และ ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาลตามหลักพุทธจิตวิทยา ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ การศึกษาภาคสนามเพื่อสร้างรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกตามหลักพุทธจิตวิทยาของพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกต ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๗ รูป ได้จากการเลือกแบบเจาะจง สำหรับในระยะที่ ๒ ใช้การสนทนากลุ่มเพื่อตรวจสอบรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาลตามหลักพุทธจิตวิทยาที่พัฒนาขึ้น จากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑๓ รูป/คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย

             ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 

             ๑. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล ในปัจจุบันใช้วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เป็นกระบวนการมุ่งเข้าถึงชุมชนและบุคคล ใช้แนวทางตามพระพุทธเจ้าและพุทธสาวกเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการทำงานพระธรรมทูต

             ๒. รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล มีองค์ประกอบตามหลักพุทธจิตวิทยา ได้แก่  สังคหวัตถุ ๔ เทศนาวิธี ๔ และการเผยแผ่เชิงรุกของ   พระธรรมทูตที่ใช้กระบวนการ  (๑) การบรรยายธรรม (๒) สื่อสารออนไลน์ (๓) การสื่อสารสิ่งพิมพ์ (๔) ธรรมภาคปฏิบัติ (๕) สังคมสงเคราะห์ และ (๖) งานศาสนสัมพันธ์ และคุณสมบัติพระธรรมทูต ประกอบด้วย มีจริยาวัตรงดงาม ปณิธานแน่วแน่ มีองค์แห่งพระธรรมกถึก และทักษะภาษาดี จะนำไปสู่ผลคือ เกิดการนำหลักไตรสิกขาไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

             ๓. รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาลตามหลักพุทธจิตวิทยา สามารถสรุปเป็นแนวคิดได้ว่า 4S Model ได้แก่ เป้าหมายชัด (Set goals) หลักการดี (Skillful) มีวิธีการเยี่ยม (Strategic) เปี่ยมด้วยคุณสมบัติพระธรรมทูต (Smart)

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕