เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง |
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมตามหลักไตรสิกขากับความสุข ของบุคคลากรในองค์กรเอกชน (สาขาวิชาชีวิตและความตาย) |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
ศิริพรรณ ตันติวิวัฒนพันธ์ |
ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๐๙/๒๐๑๙ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระครูสังฆรักษ์ เอกภัทร อภิฉนฺโท |
|
เริงชัย หมื่นชนะ |
|
- |
วันสำเร็จการศึกษา : |
๑๔ มีนาคม ๒๕๖๒ |
|
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมบุคคลตามหลักไตรสิกขา ๓ ประการ (ด้านศีลสิกขา ด้านสมาธิสิกขา และด้านปัญญาสิกขา) และระดับความสุขของบุคคลากรใน ๘ มิติ (ร่างกายดี ผ่อนคลายดี น้ำใจงาม การมีคุณธรรม ครอบครัวดี สังคมดี การหาความรู้ และการใช้เงินเป็น) ของพนักงานในองค์กรเอกชนแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครและนครปฐม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน ๑๔๖ คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบคาที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี Scheffe และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) โดยวิธี Enter ณ ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ผลการวิจัยพบว่า
๑. การเปรียบเทียบระดับความสุขของบุคคลากรใน ๘ มิติ ตามตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าเพศที่แตกต่างกันไม่ทำให้ระดับความสุขของบุคคลากรใน ๘ มิติแตกต่างกัน ยกเว้นความสุขด้านร่างกายดี พบว่าเพศชายมีระดับความสุขด้านร่างกายสูงกว่าเพศหญิง อายุที่แตกต่างกันไม่ทำให้ระดับความสุขของบุคคลากรใน ๘ มิติแตกต่างกัน ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันไม่ทำให้ระดับความสุขของบุคคลากรใน ๘ มิติแตกต่างกัน ยกเว้นความสุขด้านร่างกายดี พบว่า (๑) พนักงานที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษามีความสุขด้านร่างกายสูงกว่าพนักงานที่จบปริญญาตรี (๒) พนักงานที่จบประถมศึกษาจะมีความสุขด้านสังคมดี สูงกว่าพนักงานที่จบปริญญาตรี ตำแหน่งงานที่แตกต่างกันไม่ทำให้ระดับความสุขของบุคลากรใน ๘ มิติแตกต่างกัน ยกเว้นความสุขด้านร่างกายดี พบว่า (๑) พนักงานในระดับปฏิบัติการมีความสุขด้านร่างกายสูงกว่าพนักงานระดับหัวหน้างาน และ (๒) พนักงานในระดับอื่น ๆ มีความสุขด้านร่างกายสูงกว่าระดับหัวหน้างาน
๒. ผลการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ พบว่าปัจจัยด้านพฤติกรรมบุคคลตามหลักไตรสิกขา ด้านสมาธิสิกขา และปัญญาสิกขา มีผลต่อระดับความสุขของบุคคลากรใน ๘ มิติ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ (P < ๐.๐๕) ส่วนด้านศีลสิกขา ข้อมูลเชิงประจักษ์ยังไม่สนับสนุน มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน () เท่ากับ ๐.๓๐๓, ๐.๑๕๙ และ ๐.๐๕๒ ตามลำดับ และในรูปของคะแนนดิบ (b) เท่ากับ ๐.๔๕๘, ๐.๒๔๓ และ ๐.๐๖๗ ตามลำดับ โดยตัวแปรต้น ทั้ง ๒ ด้าน คือ ด้านสมาธิสิกขาและปัญญาสิกขา มีอำนาจร่วมกันพยากรณ์ระดับความสุขของบุคคลากรใน ๘ มิติได้ร้อยละ ๔๔.๙๐ สามารถสร้างสมการพยากรณ์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมตามหลักไตรสิขาและความสุขของบุคลากรในองค์กรเอกชน โดยเขียนในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน
Download |
|
|