หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอดุลย์ ยโสธโร (บุตรตะเคียน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๓ ครั้ง
การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องบัณเฑาะก์กับการบรรลุธรรม(๒๕๕๐)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอดุลย์ ยโสธโร (บุตรตะเคียน) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีรัตนดิลก
  ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  พระมหาอุดม สารเมธี
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๐
 
บทคัดย่อ

     วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของบัณเฑาะก์ในพระพุทธศาสนา ศักยภาพในการบรรลุธรรม และอุปนิสัยที่จะได้บรรลุธรรมของบัณเฑาะก์จากการศึกษาพบว่า บัณเฑาะก์ มีความหมายครอบคลุมทั้งคนและสัตว์ที่ไม่มีสัญลักษณ์ทางเพศ รักร่วมเพศและกามวิตถาร คัมภีร์พระพุทธศาสนาระบุสาเหตุที่ทำให้ถือกำเนิดเป็นบัณเฑาะก์ว่า เพราะอำนาจอกุศลกรรมซึ่งเก็บสั่งสมไว้ในจิต และพบว่าพุทธสาวกและพุทธสาวิกาบางองค์ที่เคยถือกำเนิดเป็นบัณเฑาะก์เคยประพฤติละเมิดความผิดในกามารมณ์การบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นกระบวนการฝึกปรือพัฒนามนุษย์ให้บรรลุถึงภาวะของความไร้ทุกข์ประสบกับภาวะแห่งความสะอาด สงบ สว่าง เรียกว่า ไตรสิกขา ซึ่งประกอบด้วยหลักการ ๓ ประการ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาบัณเฑาะก์จัดเป็นอภัพบุคคลซึ่งไม่อาจบรรลุธรรมได้ในชีวิตนี้ ถึงแม้ว่าจะพยายามฝึกปรือพัฒนาตนเองตามหลักไตรสิกขาแล้วก็ตาม เพราะบัณเฑาะก์เกิดได้เพราะผลลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยแห่งอกุศลกรรม คือ เป็นบุคคลที่ปฏิสนธิที่ปราศจากอโมหะเหตุ หรือ ทุกเหตุกปฏิสนธิ (ผู้มีวิบากเป็นเครื่องกั้น) นอกจากบัณเฑาะก์แล้ว ผู้ทำอนันตริยกรรม (ผู้มีกรรมเป็นเครื่องกั้นหรืออุปสรรค) ผู้เป็นนิตยมิจฉาทิฏฐิ (ผู้มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น) และผู้มีปัญญาทราม ก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ในชีวิตนี้ด้วยเช่นเดียวกันผู้ที่ถือกำเนิดเป็นบัณเฑาะก์นั้นยังไม่มีอุปนิสัยบรรลุธรรมในชีวิตปัจจุบัน แต่เป็นการถือกำเนิดในฐานะอภัพบุคคลชาติสุดท้าย ถัดจากชาติที่เป็นบัณเฑาะก์นั้นไป จะพ้นจากสภาพความเป็นอภัพบุคคล

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕