หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ภานรินทร์ ไชยเอิก
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๘ ครั้ง
ความพึงพอใจต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ภานรินทร์ ไชยเอิก ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  รัฐพล เย็นใจมา
  อนุวัต กะสังข์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  ๑. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
๒. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล
จอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ
๓. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะความพึงพอใจต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๖๐ สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลจอหอ จำนวน ๓๗๐ คน จากประชากร ๔,๙๖๔ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่ ๒ กลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบตัวต่อตัวกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๒ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ระดับความพึงพอใจต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๖๙, S.D. = ๐.๔๘๘) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมากคือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (  = ๓.๘๐, S.D. = ๐.๖๒๐)  ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ  (  = ๓.๖๙, S.D. = ๐.๕๑๗) ด้านกระบวนการให้บริการ ( =   ๓.๕๙, S.D. = ๐.๕๓๓) ตามลำดับ

๒. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลจอหอ  โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี อาชีพ และระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

๓. ข้อเสนอแนะความพึงพอใจต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา มีดังนี้ ๑) ด้านกระบวนการให้บริการ ควรมีการสำรวจชุมชนบ่อยๆ และควรมีการลงพื้นที่ตรวจสอบเพื่อแก้ปัญหาอย่างเข้มงวดในเรื่องการกำจัดยาเสพติด  ควรมีระบบการทำงานเป็นขั้นตอน เป็นสัดส่วน ควรสร้างองค์กรให้เข้มแข็งและต่อต้านการกระทำความผิด ๒) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ เจ้าหน้าที่ควรบริการทุกคนด้วยความเสมอภาคกัน ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงออกสำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหา ๓) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ควรให้การดูแลช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในแต่ละหมู่บ้านอย่างเท่าเทียมกัน ในเรื่องของ ไฟฟ้า น้ำประปาและการทำความสะอาด ควรมีระบบท่อระบายน้ำที่ดีขึ้น ควรที่จะมีจุดบริการน้ำดื่มและห้องน้ำตามจุดต่างๆ และควรจัดหาทุนการศึกษาสนับสนุนเด็กที่มีฐานะยากจน

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕