หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วิมลพรรณ หาญชนะ
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๓ ครั้ง
ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ : กรณีศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ชื่อผู้วิจัย : วิมลพรรณ หาญชนะ ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง)
  พระมหาอดิเดช สติวโร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๕ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

              วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ    ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับศีล ๕ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการขาดศีล ๕ ของนักศึกษาในสังคมไทย

๓) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคเอกสาร และภาคสนาม

 

             ผลการวิจัยพบว่า คำว่า ศีลหรือคำว่า วิรัติ”  ในพระพุทธศาสนานั้นมีปรากฏอยู่ในหลักธรรมคำสั่งสอนคือ ในพระไตรปิฎก รวมไปถึงคำอธิบายความที่ปรากฏในคัมภีร์พระอรรถกถา ฎีกา นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาก็ได้กล่าวถึงความหมายของศีลไว้หลายแห่งด้วยกัน เช่น ศีลหมายถึงความเป็นปกติ หรือปกติภาวะตามธรรมดา หมายความว่า ทำทุกอย่างอยู่ตามหน้าที่ที่ควรจะทำ แต่อยู่ในภาวะปกติ คือ ไม่เดือดร้อนไม่กระวนกระวายไม่ระส่ำระสาย ไม่มีความสกปรก ความเศร้าหมองใดๆ เกิดขึ้น โดยเนื้อความ ศีล หมายถึง ระเบียบที่ได้บัญญัติขึ้นไว้สำหรับประพฤติปฏิบัติกัน เพื่อให้เกิดภาวะปกติขึ้นมาที่กาย วาจา ศีล คือการปฏิบัติเกี่ยวกับระเบียบการเป็นอยู่ทางภายนอก ศีลพัฒนาที่กาย ที่วาจา ให้เป็นกาย วาจา ที่น่าดู เมื่อเรามีศีลเป็นพื้นฐานแล้ว เราจึงจะมีจิตที่เป็นสมาธิได้ง่าย ดังนั้น ศีลจึงจัดเป็นคุณธรรมเบื้องต้นที่สำคัญในการฝึกฝนอบรมตนให้เกิดสมาธิ ปัญญา และจัดเป็นส่วนหนึ่งของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา โดยเรียกว่า สิกขาบท บทที่ต้องศึกษา ซึ่งหมายถึงข้อปฏิบัติฝึกอบรมตนเพื่อเป็นฐานให้เกิดสมาธิและปัญญาต่อไป

 

 

             สภาพปัญหาการขาดศีล ๕ ของนักศึกษาในสังคมไทย โดยความเป็นจริงแล้วนักศึกษาที่นับถือพระพุทธศาสนาก็ล้วนแล้วที่จะปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาอยู่แล้ว เพราะสังคมไทยโดยส่วนมากเป็นชาวพุทธจึงมีการปลูกฝังในเรื่องของการประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกันศีล ๕ ตั้งแต่ยังเล็กๆ ที่ยังไม่เข้าโรงเรียน จนเข้าโรงเรียนระดับประถม มัธยม ก็มีการปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาอยู่ตลอด จนถึงการเข้ามาสู่รั่วมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ก็มีการอบรมค่ายคุณธรรมจริยธรรม และค่ายชมพูเขียว เป็นต้น และตลอดระยะเวลาในการศึกษาก็จะมีกิจกรรมทางด้านศาสนาอยู่เป็นประจำมิได้ขาดตามวาระต่าง ซึ่งในส่วนงานนั้นๆ ก็จะมีการกล่าวถึงในเรื่องของการรักษาศีล ๕ อยู่ตลอดเวลา เพราะเข้าใจว่าศีล ๕ ที่เรียกว่า เบญจศีล หรือ นิจศีล หรือมนุษยธรรม หรืออริยธรรม เป็นธรรมที่จะต้องประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจัง หากต้องการความสุข และสันติภาพ

 

             แนวทางการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ในระดับต่างๆ ควรให้ความสำคัญ และส่งเสริมแนวทางการรักษาศีล ๕ อย่างจริงจัง เพื่อที่นักศึกษาที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบจริงๆ จะได้มีกำลังใจในการทำความดี และเป็นเป็นตัวอย่างที่ดีกับรุ่นน้องและรุ่นต่อไปๆ โดยการสร้างแนวทางการส่งเสริมต่างๆ เช่น มอบทุนการศึกษาหรือการมอบรางวัลแก่ผู้ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ในเรื่องของการรักษาศีล ๕ และที่สำคัญ สำหรับนักศึกษาที่ประพฤติตนล่วงละเมิดศีล ๕ ก็มีมาตรการลงโทษเช่น การหักคะแนนกิจกรรม การหักคะแนนจิตพิสัย เป็นต้น ซึ่งผลของการหักคะแนนนั้นกองพัฒนานักศึกษาของมหาวิทยาลัย จะเป็นผู้กำหนดกิจกรรมต่างๆ และการลงโทษต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้รักษาศีล ๕ เป็นหลักในการปฏิบัติตน เมื่อเข้ามาสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีการรักษาศีล ๕ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพ โดยความเป็นจริงแล้วนักศึกษาที่นับถือพระพุทธศาสนาก็ล้วนแล้วที่จะปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาอยู่แล้ว เพราะสังคมไทยโดยส่วนมากเป็นชาวพุทธจึงมีการปลูกฝังในเรื่องของการประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกันศีล ๕ ตั้งแต่ยังเล็กๆ ที่ยังไม่เข้าโรงเรียน จนเข้าโรงเรียนระดับประถม มัธยม ก็มีการปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาอยู่ตลอด จนถึงการเข้ามาสู่รั่วมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ก็มีการอบรมค่ายคุณธรรมจริยธรรม และค่ายชมพูเขียว เป็นต้น และตลอดระยะเวลาในการศึกษาก็จะมีกิจกรรมทางด้านศาสนาอยู่เป็นประจำมิได้ขาดตามวาระต่าง ซึ่งในส่วนงานนั้นๆ ก็จะมีการกล่าวถึงในเรื่องของการรักษาศีล ๕ อยู่ตลอดเวลา เพราะเข้าใจว่าศีล ๕ ที่เรียกว่า เบญจศีล หรือ นิจศีล หรือมนุษยธรรม หรืออริยธรรม เป็นธรรมที่จะต้องประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจัง หากต้องการความสุข และสันติภาพ

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕