หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ถนัด ไชยพันธ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ถนัด ไชยพันธ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พิเชฐ ทั่งโต
  สุรินทร์ นิยมางกูร
  จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

งานวิจัยฉบับนี้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี และ ๓) เพื่อเสนอการพัฒนาการส่งเสริมประสิทธิผลในการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลสัมภาษณ์รายบุคคล จำนวน ๑๘ รูป/คน และจากแบบสอบถามจำนวน ๓๖๓ คน/ชุด

 

            ผลการวิจัย พบว่า

๑. ประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = .๖๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ลำดับที่หนึ่ง คือ ด้านการปฏิบัติราชการ ( = .๗๔) ลำดับที่สอง คือ ด้านการพัฒนาองค์กร ( = .๗๔) ลำดับที่สาม คือ ด้านคุณภาพการให้บริการ ( = .๖๗) และลำดับสุดท้าย คือ ด้านแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( = .๖๐)

๒. หลักพุทธธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า หลักสัปปุริสธรรม ๗ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = .๖๑) และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านโดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดได้แก่ หลักอัตตัญญุตา (รู้ตน รู้ว่าตนเองมีคุณสมบัติ มีความรู้อย่างไร) ( = .๗๐) และหลักมัตตัญญุตา (รู้จักประมาณ รู้จักความพอดี) ( =.๗๐) รองลงมา หลักอัตถัญญุตา (รู้จุดกมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้จักผล) ( =.๖๘) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ หลักปริสัญญุตา (รู้ชุมชน รู้สังคม สามารถแก่ปัญหาต่างๆได้) ( =.๓๕) และหลักพละ ๔ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = .๔๓) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ลำดับที่หนึ่ง คือ ด้านสังคหพละ (กำลังเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคน) ( = .๕๕) ลำดับที่สอง คือ ด้านวิริยะพละ (กำลังความขยันหมั่นเพียร) ( = .๕๒) ลำดับที่สาม คือ ด้านอนวัชชพละ (กำลังความชื่อสัตย์สุจริต) ( = .๓๖) และลำดับสุดท้าย คือ ด้านปัญญาพละ มีค่าเฉลี่ยระดับมาก ( = .๓๐)

 

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕