หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เด่นชัย ประทุมแฝง
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๖ ครั้ง
กระบวนการสร้างอัตลักษณ์เชิงพุทธของกลุ่มความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย
ชื่อผู้วิจัย : เด่นชัย ประทุมแฝง ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  วีรชาติ นิ่มอนงค์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๓ เมษายน ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (๑) เพื่อศึกษาทฤษฎีสมัยใหม่และทฤษฎีหลังสมัยใหม่กับแนวคิดเรื่องเพศและความหลากหลายทางเพศกับกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศในสังคมไทย (๒) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องเพศและความหลากหลายทางเพศในพระพุทธศาสนา (๓) เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตของกระบวนการสร้างอัตลักษณ์เชิงพุทธของกลุ่มความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย

             การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งมีการใช้ระเบียบวิธีวิจัยอนาคต (Future Research) ผ่านการศึกษาปรากฏการณ์ด้วยวิธีการวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis) พร้อมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก

             ผลจากการวิจัยพบว่า ๑) ทฤษฎีสมัยใหม่โดยหลักวิชาวิทยาศาสตร์อธิบายความหมายเรื่องเพศและความหลากหลายทางเพศภายใต้วาทกรรมว่า เพศหญิงเพศชายเป็นเรื่องธรรมชาติและปกติและความผิดปกติทางเพศเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ จากวาทกรรมนี้นำไปสู่การครอบงำหลักวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในการอธิบายเรื่องคุณค่าและหน้าที่ในการกำกับสถานภาพทางเพศ ส่วนกลุ่มความหลากหลายทางเพศไม่ได้ถูกกำหนดการทำหน้าที่หรือการสร้างคุณค่าในการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ในสังคม ดังนั้น กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศตามทฤษฎีสมัยใหม่มีลักษณะของการใช้หลักวิชาวิทยาศาสตร์เป็นศูนย์กลางในการอธิบายและกำหนดคุณค่าและหน้าที่ของมนุษย์ และทฤษฎีหลังสมัยใหม่กับแนวคิดเรื่องเพศและความหลากหลายทางเพศได้ปฏิเสธวิธีวิทยาในการสร้างความรู้ของหลักวิชาวิทยาศาสตร์ โดยถือว่าเรื่องเพศแท้จริงแล้วไม่มีเพศชายความเป็นชาย และเพศหญิงความเป็นหญิง ถือว่าเพศเป็นเพียงการสร้างวาทกรรมความรู้และการผลิตซ้ำความรู้ โดยแนวคิดของปรัชญาหลังสมัยใหม่ให้ความสำคัญกับสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และศักยภาพของมนุษย์ ดังนั้น กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศจึงเป็นเรื่องของการสร้างสรรค์พื้นที่ทางสังคมเพื่อการอยู่ร่วมกันผ่านความหลากหลายในความเป็นมนุษย์ และกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศในสังคมไทยมีลักษณะการผสมผสานแนวคิดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะแนวคิดของพระพุทธศาสนาและแนวคิดเรื่องเพศของทฤษฎีสมัยใหม่และทฤษฎีหลังสมัยใหม่ซึ่งมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงและเลื่อนไหลไปตามบริบททางสังคม ซึ่งปัจจุบันการเน้นสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคในการอยู่ร่วมกันในสังคมภายใต้ความหลากหลายของอัตลักษณ์แต่ละกลุ่ม 


Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕