หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระแมน ฐิตเมโธ (ดาวใหม่)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๒ ครั้ง
ธรรมชาติของมนุษย์ในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ
ชื่อผู้วิจัย : พระแมน ฐิตเมโธ (ดาวใหม่) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโกศลศาสนบัณฑิต
  ณัทธีร์ ศรีดี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

     งานวิจัยเรื่อง ธรรมชาติของมนุษย์ในทัศนะของพุทธทาสภิกขุนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ  ๑) เพื่อศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ในพุทธปรัชญาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ ๓) เพื่อวิเคราะห์ธรรมชาติของมนุษย์ในพุทธปรัชญาเถรวาทกับทัศนะของพุทธทาสภิกขุ เป็นการวิจัยเอกสาร  ผลของการวิจัยพบว่า

   ๑) ธรรมชาติของมนุษย์ในพุทธปรัชญาเถรวาทตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีอนัตตา มนุษย์เป็นสัตว์ที่เกิดจากองค์ประกอบด้วยกาย และจิต จิตหรือวิญญาณของมนุษย์มีอยู่จริง โดยอาศัยร่างกายเป็นที่อยู่ เป็นธรรมชาติที่ไม่มีรูปร่าง เป็นนามธรรม มีความสัมพันธ์กับร่างกายและมีความสำคัญกว่าร่างกาย ธรรมชาติของร่างกายมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถดำรงอยู่ในภาวะเดิมตลอดไปได้เรียกว่า อนิจจตา และถูกบีบคั้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในอยู่ตลอดเวลาเรียกว่า ทุกขตา จุดหมายสูงสุดที่แท้จริงของชีวิต คือ นิพพาน นิพพานํ ปรมํ สุขํ นิพพาน เป็นบรมสุข        

   ๒) ธรรมชาติของมนุษย์ในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ ได้ใจความว่า มนุษย์มีสัญชาตญาณสัตว์แฝงฝังอยู่จริงหรือ สัญชาตญาณสัตว์คือความหมกมุ่นอยู่ในโลกิยะ มนุษย์หมกมุ่นอยู่กับโลกิยะ และมีความเป็นตัวกู ของกู สัญชาตญาณสัตว์ที่กล่าวนี่เองเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์

   ๓) วิเคราะห์ทั้งสองทัศนะพบว่า มนุษย์ผู้ประเสริฐหรือมนุษย์ที่มีคุณค่าก็คือมนุษย์ที่สามารถเอาชนะหรือว่าควบคุมสัญชาตญาณสัตว์เหล่านี้ได้นั่นเอง การดำเนินชีวิตที่พระพุทธองค์ทรงแสดงให้มนุษย์เห็นภาวะความจริงของชีวิต นำไปสู่ความดับทุกข์ คือการศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้ในอริยสัจ ๔ ชี้ให้เห็นสารัตถะแห่งชีวิตว่า นี่คือความทุกข์ สาเหตุของความทุกข์ ความดับทุกข์ และทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕